การบริหารการเงินส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล

จุดมุ่งหมายของการบริหารการเงินส่วนบุคคล  การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นการบริหารเงินในส่วนของบุคคล ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ บุคคลได้รับในสิ่งที่ตนหวังไว้โดยเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับตนเองและครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ แล้วก็ย่อมทำให้ทุกคนมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้

การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) หมายถึง การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จัก จัดหาเงินเข้ามา และใช้จ่ายออกไปอย่างถูกต้อง บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ความหมายของคำว่า “การบริหารการเงินส่วนบุคคล”

ความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

เพื่อให้คน วางแผนการเงิน ของตนเองและ ครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้คนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้จ่าย อย่างถูกต้อง ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต จะก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการวางแผนการเงิน

ขอบเขตของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

  1. การสร้างฐานะความมั่นคงทางการเงิน
    2.การรู้จัดใช้เงินอย่างฉลาด
    3. การใช้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย
    4. การสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยการทำประกันภัย
    5. การลงทุนประเภทต่างๆเลือกหลักทรัพย์ลงทุนและสถาบันที่จะลงทุนให้เหมาะสม
    6. การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตยามปลดเกษียณ

ข้อคิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล

  1. เวลาเป็นของมีค่าในการบริหารการเงินส่วนบุคคลควรจะใช้เวลาให้น้อยที่สุด
    2.การจัดการเกี่ยวกับการเงินควรจะมีการยืดหยุ่นได้
    3. ควรมีการปรับปรุงแผนงานระยะยาว และควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
    4. ควรมีการวางแผนทางการเงินของครอบครัว สามีและภรรยาควรเข้าใจในแผนงานนี้ร่วมกัน
    5. การซื้อของราคาแพงแล้วได้สินค้าคุณภาพดี จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว
    6. ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น
    7. พยายามเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
    8. พยายามบริหารเงินที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
    9. ควรพัฒนาปรับปรุงงานอดิเรกที่ทำอยู่ให้มีผลประโยชน์เกิดขึ้น
    10. ใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูน
    11. ควรวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับเรื่องของเวลาเสมอ

การวางแผนทางการเงินของบุคคล (Personal Finance Program)

เป้าหมายในชีวิตของบุคคล (Personal Goals in Life)

ก.   เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงิน (Financial Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล   อันจะมีผลให้ฐานะการเงินของบุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลง

ข.   เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับเงิน (No financial Goals) บางครั้งเงินก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ ความนึกคิด เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า เงินไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

การวางแผนชีวิตของบุคคล

แผนระยะสั้น (Short-term or current planning) แผนระยะสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง

แผนระยะยาว (Long-term Planning) การวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ การสร้างฐานะความมั่นคงให้บุคคลในอนาคต

ที่มาของรายได้ของบุคคล ได้มาจากหลายทาง เช่น จากงานประจำที่ทำอยู่ การทำงานอดิเรก  ดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ลงทุน ตลอดจนบำเหน็จบำนาญ และ สวัสดิการต่าง ๆ          ที่ได้รับ   มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล และความปรารถนาของแต่ละบุคคลว่าต้องการมีรายได้มากเพียงใด ซึ่งเขาก็ต้อง ขวนขวายให้ได้มาซึ่งรายได้นั้น

การใช้จ่ายของบุคคล

รายได้ที่บุคคลได้ส่วนมากใช้จ่ายในเรื่องจำเป็นต่อการดำรงชีพซึ่งได้แก่  อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย   ยารักษาโรค  นอกจากนั้นเป็นการจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบาย การใช้จ่ายเกี่ยวกับพันธะทางการเงินที่มีอยู่ เช่น ค่าเบี้ยประกัน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าภาษี เป็นต้น

การวางแผนการเงินในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล (Personal Financial Planning Life Cycle) แบ่งเป็น  5 ระยะ ระยะเริ่มตั้งครอบครัว (The beginning family)ระยะขยายครอบครัว (The expanding family) ระยะการแยกย้ายครอบครัว (The launching family) ระยะช่วงกลางของครอบครัว (The middle age family) ระยะเมื่อเข้าสู่วัยชรา (The Old - age family)

ภาวะเงินเฟ้อกับการวางแผนการเงิน (Inflation and Financial Planning)

การพิจารณาว่าภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นดูได้จาก ดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากปีฐาน เป็นจำนวนเท่าใด หากภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ รัฐก็จะทำการเข้าแทรกแซง

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันมีสาเหตุเนื่องมาจาก ความต้องการสินค้ามีมาก หรืออาจเป็น เพราะต้นทุนของสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นก็ได้

การวัดฐานะการเงินของบุคคล

การที่จะรู้ถึง ฐานะการเงิน ณ วันนี้ของเราได้นั้น ในช่วงรอบปีที่ผ่านมาจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินทุกรายการ ที่เกิดขึ้น และมาทำสรุปออกมาเป็นรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “งบการเงิน” ข้อมูลตัวเลขในงบการเงินจะบอกให้ทราบได้ว่า ขณะนี้ฐานะการเงินของท่านกำลังอยู่ ณ จุดไหน เมื่อทราบฐานะการเงินแท้จริง ณ ขณะนี้ได้  ต่อไปท่านจะสามารถวางแผนการเงินสำหรับอนาคตได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

งบการเงินของบุคคลงบดุล (Balance Sheet) เป็นงบสรุปฐานะการเงินของบุคคล   เวลาหนึ่ง เพื่อบอกให้ทราบว่า  ณ เวลานั้น เขามีสินทรัพย์ หนี้สิน และ เงินทุนส่วนที่เป็นของเขาเองอยู่เท่าไร เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง (Wealth) ของบุคคลนั้น

คำนวณได้จากสูตร      สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

งบการเงินของบุคคล (Personal Financial Statements) ประกอบด้วยงบดุล (Balance Sheet of Statement of Financial Position) และงบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income an Expenditures Statement)

สินทรัพย์ (Assets)  คือ รายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่บุคคลเป็นเจ้าของอยู่ซึ่งมีมากมายหลายประเภทแตกต่างกันตามลักษณะและ ประโยชน์ของการใช้สอย สินทรัพย์ต่าง ๆ ได้แก่เช่น เงินสด เงินฝาก  บ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น ในการบริหารการเงินนิยมจัดกลุ่มสินทรัพย์ของบุคคลออกเป็น 4  กลุ่มคือ งบการเงินของบุคคล

งบการเงินของบุคคล

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets)
ทรัพย์สินแท้จริง (Real Property)
ทรัพย์สินส่วนตัว (Personal Property
ทรัพย์สินลงทุน (Investments)

หนี้สิน (Liabilities) คือเงินที่เราได้กู้ยืมคนอื่นเขามา (the money you owe)และมีพันธะต้องชำระคืนในอนาคต หนี้สินอาจจะเป็นหนี้สินส่วนตัวหรือหนี้สินของครอบครัวก็ตาม เช่น

หนี้ค้างชำระค่าสินค้าจากร้านค้า
หนี้ค้างชำระของบัตรเครดิต
หนี้ค้างชำระในการซื้อของผ่อนส่ง
หนี้เงินกู้ธนาคาร
หนี้ซื้อที่ดินผ่อนบ้าน เป็นต้น

งบการเงินของบุคคลโดยทั่วไปจะแบ่งหนี้สินออกเป็น

  1. ค่าบิลค้างชำระ (Unpaid Bill)
    2.เครดิตหมุนเวียน (Revolving Credit)
    3. หนี้ค่าผ่อนสินค้า (Consumer Installment Loans)
    4. หนี้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Loans)

ส่วนของเจ้าของ (Net worth) หมายถึง สินทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดออกไปแล้ว ซึ่งส่วนที่เหลือนี้จะเป็นทรัพย์สินที่บุคคลเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและเป็นสิ่งแสดงถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้นด้วย    จากสูตร

Total assets  – Total liabilities  =  Net worth

ยิ่ง Net worth ของบุคคลมีเพิ่มขึ้นเท่าไรก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้น  ที่ยิ่งมีเพิ่มขึ้น และ Net worth นี่เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal) ที่บุคคลวางไว้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการบริหารการเงินที่ดีบุคคลควรหาทางทำให้ Net worth ของตนเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

ในการใช้ชีวิตประจำวันพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม หาทางที่ว่าทำอย่างไร จึงจะหารายได้ให้ได้มากขึ้นและใช้จ่ายให้ลดลง การเลือกลงทุนซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ต้องเลือกสินทรัพย์ที่ดี มีโอกาสที่มูลค่าสินทรัพย์นั้นจะเพิ่มขึ้นได้ วิธีการเพิ่มความมั่นคั่งให้กับบุคคล หาทางเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนให้สูงขึ้น เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยพยายามซื้อหุ้นบริษัทดี ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาไว้ในกองหลักทรัพย์ลงทุนของตน อย่าก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น สำหรับหนี้สินที่มีอยู่แล้วควรพยายามหาทางชำระให้หมดภายในเวลาอันรวดเร็วด้วย

งบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income and Expenditures Statement)

การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลจะบันทึกโดยใช้เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) กล่าวคือจะมี การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ต่อเมื่อได้มีการรับเงินสดเข้ามาจริง และจ่ายเงินสดออกไปจริง ๆ เท่านั้น รายได้ (Income) คือ จำนวนเงินสดที่บุคคลได้รับเข้ามา อาจได้จากหลายทาง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส ค่าคอมมิสชั่น เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เงินรับค่ากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินบำเหน็จบำนาญ กองทุนเลี้ยงชีพ และเงินค่าประกันสังคม ตลอดจนเงินได้รับอื่น ๆ เช่น การขายทรัพย์สิน เงินรางวัลตอบแทนต่าง ๆ เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย (Expenditure) ค่าใช้จ่ายหรือจำนวนเงินสดที่บุคคลใช้จ่ายออกไป (The Amount of Cash Out) บุคคลมีการใช้จ่าย มากมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่าง ๆ กัน เช่น การใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิตประจำวัน  การใช้เพื่อซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ บางอย่าง การใช้จ่ายค่าภาษี และการชำระหนี้สินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed expenditures) ต้องจ่ายเท่ากันทุกงวดจำนวนแน่นอน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ แต่บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายผันแปร คือจำนวนที่จ่ายไม่คงที่แน่นอน ผันแปรไปตามเหตุการณ์ความจำเป็น เช่น ค่าอาหาร เสื้อผ้า หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนบันเทิง

ประโยชน์ของงบการเงิน เพื่อจะได้หาแนวทางว่าต่อไปเราควรทำอย่างไรจึงจะทำให้ฐานะการเงินไปถึงจุดหมายทางการเงินที่วางไว้  ยังเป็นประโยชน์สำหรับธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะใช้ประเมินฐานะของผู้มาขอกู้เงินด้วย เพื่อใช้ดูว่าผู้กู้มีความเสี่ยงทางการเงินเพียงใด เหมาะสมจะให้กู้ยืมหรือไม่ ซึ่งธนาคารจะเอาตัวเลขจากรายการต่าง ๆ ในงบการเงินนี้มาประเมินหาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อจะวิเคราะห์ถึงความมั่นคงทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคตของบุคคลนั้น

การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตของบุคคล (Planning Personal Future)

แนวความคิดในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal Concepts)

เพิ่มพูน (Accumulation) เป็นการสะสม หรือทำให้ทรัพยากรการเงินที่มีอยู่นั้นยิ่งมีเพิ่มพูนขึ้นด้วยการให้ เงินสดที่ได้มา (Cash inflow) เปลี่ยนสภาพไปเป็นเงินทุน (Capital) ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งขึ้น การรักษาไว้ (Preservation) เพื่อเป็นการคงฐานะและรักษาคุณภาพชีวิตของบุคคลไว้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรืออย่างน้อย ก็รักษาความเป็นอยู่ให้เหมือนเดิม แม้ว่าเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนไป Go golf! การแบ่งสรรออกไป (Distribution) แนวความคิดนี้เป็นลักษณะของการให้  กล่าวคือ เป็นการจัดสรร หรือ แบ่งปันทรัพยากรการเงิน ที่มีอยู่ออกไปอย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลอื่นตลอดจนสังคมที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ เป้าหมายระยะสั้น,เป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะสั้น เป็นการวางแผนสำหรับช่วงเวลาอันสั้น มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี การวางแผนทางการเงินระยะสั้น เป็นการวางแผน เพื่ออนาคตอันใกล้ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกันเรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การเก็บเงินออมใช้ยามจำเป็น การซื้อของเงินผ่อน การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว การเดินทาง ตลอดจนการต้องการ ความคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาอันสั้นของบุคคล เป้าหมายระยะยาว เป็นการวางแผนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี อาจจะไปถึง 5, 10, 20 ปีข้างหน้า เป้าหมายทางการเงินระยะยาว ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับ การจัดสรรเงิน ไว้สำหรับอนาคตวันข้างหน้า และ เพื่อความมั่นคง ความสุขสบาย ในบั้นปลายของชีวิต ด้วย การวางแผนส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวกับเรื่อง การลงทุน อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ถาวร การวางแผนเกษียณอายุ  การพักผ่อนท่องเที่ยว

บทบาทของงบประมาณในการวางแผนการเงิน

คือการจัดระบบข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับ การคาดคะเน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งในงบประมาณจะประกอบด้วย การประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ให้อยู่ภายใน ขอบเขตที่ต้องการ งบประมาณ (Budgeting)

งบประมาณ (Budgeting)

การทำงบประมาณนับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคคล และครอบครัวของเขา เพราะช่วยให้การใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่เกิดปัญหาการใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการซื้อหาสิ่งใดโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และเมื่อมีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายในขอบเขตแล้วก็จะทำให้มีเงินเหลือใช้ สามารถเก็บออมไว้สำหรับวันข้างหน้าได้ นอกจากนั้นในงบประมาณ ซึ่งได้มีการประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้ไม่มีปัญหา เมื่อถึงเวลาที่จะต้อง จ่ายเงินออกไปจริง ๆ เพราะได้มีการเตรียมค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเผื่อไว้แล้ว

การจัดทำงบประมาณเงินสด (Setting a cash budget)

การทำงบประมาณเป็นการประมาณการรายได้ และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่คาดว่าจะมีขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เหล่านี้จะต้องเป็นรายการที่อยู่ในรูปของเงินสดเท่านั้น       (Cash Basis) ดังนั้นงบประมาณที่ทำขึ้น จึงนิยมเรียกว่า งบประมาณเงินสด (Cash budget)

ขั้นตอนเกี่ยวกับการงบประมาณ (The Budgeting Process)

  1. การคาดคะเนรายได้หรือเงินสดรับ (Estimating incomes or cash inflow)
  2. การคาดคะเนค่าใช้จ่าย (Estimating expenditures)
  3. การทำสรุปงบประมาณ (Finalizing the cash budget)
  4. การปรับปรุงงบประมาณ (Adjustments)

การจัดทำงบการเงิน

กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดแหล่งที่มาของรายได้ และการตัดสินใจกำหนดการใช้จ่ายภายในวงเงินรายได้ที่มีอยู่  ซึ่งการกำหนดรายได้ก็เพียงเป็นการบันทึกรายรับรวมสุทธิทั้งหมดที่ท่านได้รับกลับบ้านมาจริง ๆ เท่านั้น โดยรายการรายได้ส่วนใหญ่มักเป็นค่าแรง เงินเดือน เงินปันผล  ดอกเบี้ยเงินออม โบนัส และลาภลอยอื่น ๆ ในกรณีที่รายได้ของท่านไม่ได้รับสม่ำเสมอ เป็นจำนวนแน่นอน ให้ท่านทำงบประมาณไว้ในจำนวนสูง และเมื่อท่านมีรายได้สูงขึ้น ท่านสามารถจะปรับรายจ่ายของท่านได้ง่ายกว่า

จากข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจะมีรายจ่ายค่าอาหารเป็นรายจ่ายหลัก ในขณะที่ครอบครัวที่มีรายได้สูงรายจ่ายจำนวนมากจะเป็นรายจ่ายเพื่อบ้านที่อยู่อาศัย ดังนั้นการทำงบประมาณประจำปีจึงเริ่มต้นจากการพิจารณารายจ่ายที่เกิดขึ้นในปีที่แล้วตามลักษณะการใช้จ่าย และทำการจัดหมวดหมู่ของรายจ่ายเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ หมวดค่าอาหาร บ้านที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ ทรัพย์สินภายในบ้าน ค่ารักษาพยาบาล เงินสำรองส่วนตัว เงินบริจาคการกุศล ค่าประกันภัย  ค่าใช้จ่าย เบ็ดเตล็ด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รายจ่ายเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ  คือ รายจ่ายประจำ ซึ่งเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นทุกเดือน รายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ซึ่งเป็นรายจ่ายไม่สม่ำเสมอแต่ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ และรายจ่ายผันแปรซึ่งเป็นรายจ่ายที่สามารถเลื่อนกำหนดการใช้จ่ายไปได้ ถ้ามีความจำเป็น  อย่างไรก็ตามในการทำงบประมาณควรมีการตั้งเงินออม และรายจ่ายฉุกเฉินเพื่อใช้จ่ายในกรณีที่เกิดรายจ่ายที่ไม่คาดหวังเกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ใช่ค่ายาประจำบ้านหรือค่าตรวจรักษาประจำเดือน

การออม

การลงทุนทางการเงิน (Financial investments) สิ่งที่ได้รับจากการลงทุน เช่น เมื่อซื้อหุ้นของบริษัทได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล หมายถึงการที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงินโดยทั่วไปมักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

เงินเพื่อการลงทุน ได้มาจากไหน (Money For investing)เงินสำหรับนำมาลงทุนได้มาจากแหล่งใด  หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไร  ถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตนอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

  1. การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนดก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้
  2. การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือน ซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าวไปให้สถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลหาผลประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เจ้าของ  ผู้มีสิทธิ ได้รับเมื่อถึงเวลา  เงินออมโดยโดยวิธีบังคับจึงเป็นเงินลงทุนทางหนึ่งของบุคคลเพียงแต่เขาไม่ได้เป็นผู้ลงทุนเองโดยตรง แต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้
  3. การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน        ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้
  4. การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the no routine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายได้พิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่าที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)

การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks)การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุนมีหลายรูปแบบได้แก่

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล ในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตร หรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์  ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า ก็จะมีรายได้ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิในการออกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น
ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเองว่า ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับสักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึงเรื่องผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return

บทความโดย : www.gotoknow.org

 35612
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores