บทความเรื่อง "จดทะเบียนบริษัททั้งที ทำอย่างไรให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด" เป็นการลงรายละเอียดที่สำคัญ และเน้นให้ระวังในการนำมาเป็นค่าใช้จ่าย โดยมีหลักการสำคัญ 5 ข้อดังนี้
1) รายจ่ายส่วนตัวหรือไม่ได้จ่ายเพื่อกิจการ ไม่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีได้
2) รายจ่ายค่ารับรอง เป็นอีกรายการที่ควรระวัง เพราะรายจ่ายค่ารับรองนั้น มีจำนวนจำกัดอยู่ ตามเงื่อนไขตามกฏกระทรวงฉบับที่ 143 ดังนี้
- กรณีเป็นสิ่งของ จะใช้เป็นรายจ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท/ครั้ง
- จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการ สามารถเป็นรายจ่ายสูงสุดได้ไม่เกิน 0.3%ของรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี หรือทุนชำระในวันสุดท้ายของระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า และมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
- ต้องมีกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติ
3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน กรณีที่เป็นรายจ่ายที่ทำให้สินทรัพย์นั้นดีขึ้น หรือเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องระวังด้วยว่ามันจะเป็นการจ่ายเพื่อลงทุน โดยจะถือว่าเป็น "สินทรัพย์" แทนค่าใช้จ่ายซึ่งต้องคิดค่าเสื่อมราคาแทน
เช่น จ่ายค่าปรับปรุงสำนักงานใหม่จำนวน 100,000 บาท แบบนี้เป็นการจ่ายเงินเพื่อเป็นการลงทุนในการทำธุรกิจทำให้เกิดสินทรัพย์ (สำนักงานใหม่) แบบนี้ต้องเอามาตัดเป็นค่าเสื่อมราคาแทน ไม่ได้เป็นรายจ่ายทั้งก้อนในงวดที่จ่าย
4) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร เป็นข้อควรระวังเพราะกฏหมายเขียนห้ามไว้ชัดเจนว่า "การจ่ายเงินเดือนให้กับตัวของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ในจำนวนที่เกินสมควรนั้น เป็นเรื่องต้องห้าม (อ้างอิง : มาตรา 65 ตรี (8) แห่งประมวลรัษฏากร)
แต่กฏหมายไม่ได้ระบุไว้ว่าเท่าไรถึงเรียกว่าสมควรหรือไม่สมควร แต่อาจใช้หลักการคำนวณง่ายๆ คือ อย่าจ่ายสูงกว่าความเป็นจริงที่ควรจะได้รับ โดยอาจคำนวณจากชั่วโมงการทำงานน ความสามารถ และเปรียบเทียบกับรายได้ของธุรกิจประกอบกัน
5) รายจ่ายที่สูง (แพง) กว่าความเป็นจริง ตามกฏหมายมาตรา 65 ตรี (15) ระบุไว้ว่า กรณี "ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร" ดังนั้นหากธุรกิจเราจ่ายเงินซื้ออะไรแพงกว่าปกติมาก อาจจะโดยไม่ให้ใช้รายจ่ายนี้เป็นรายจ่ายได้
บทความโดย : http://www.tippanya-acc.com