เงินทุนของบริษัทและการนำหุ้นทุนออกขาย

เงินทุนของบริษัทและการนำหุ้นทุนออกขาย

1. บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด ( Private Company Limited ) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ” มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

2. บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited ) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)

จากความหมาย  ลักษณะ  การจัดตั้ง  ของบริษัทจำกัดทั้ง 2 ประเภท  สามารถนำมาเปรียบเทียบเป็นสาระสำคัญ  ได้ดังนี้

รายการ

บริษัทเอกชนจำกัด

(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

บริษัทมหาชนจำกัด

(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

1. ชื่อของบริษัท

ต้องมีคำว่า”บริษัทนำหน้าชื่อและมีคำว่าจำกัดต่อท้ายชื่อ(มาตรา 1098)

ต้องมีคำว่า”บริษัทนำหน้าชื่อและมีคำว่าจำกัด(มหาชน)ต่อท้ายชื่อ(มาตรา 11)

2. จำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท       

     และจำนวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ำ

ผู้เริ่มก่อการต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน(มาตรา 1097)และผู้เริ่มก่อการทุกคน  ต้องลงชื่อซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น(มาตรา 1100) ดังนั้นผู้ถือหุ้นในบริษัทต้องมีไม่น้อยกว่า 7 คน

ผู้เริ่มจัดตั้งต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน(มาตรา 16) และผู้เริ่มจัดตั้งบริษัททุกคนต้องจองหุ้นและหุ้นที่จองทั้งหมดนั้น  ต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 5 % ของทุนจดทะเบียน(มาตรา 17) ดังนั้นผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนต้องมีไม่น้อยกว่า 15 คน

3. การเสนอขายหุ้น

ห้ามชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้นของบริษัท(มาตรา 1102)

เสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้โดยได้ระบุความประสงค์นี้ไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ(มาตรา 15) อย่างไรก็ตามการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(มาตรา 24)

4. มูลค่าหุ้น

หุ้นของบริษัทต้องมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท (มาตรา 1117)

เหมือนกับบริษัทเอกชนจำกัด(มาตรา 50)

5. การขายหุ้น

บริษัทอาจขายหุ้นในราคาตามมูลค่าหรือสูงกว่ามูลค่าได้  หากได้มีการกำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแต่จะขายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าไม่ได้  ในกรณีที่ขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดต้องส่งใช้พร้อมกับการส่งใช้เงินค่าหุ้นงวดแรก  ซึ่งเงินส่งใช้ค่าหุ้นงวดแรกต้องไม่น้อยกว่า 25 % ของมูลค่าหุ้น(มาตรา 1105)

บริษัทอาจเสนอขายหุ้นในราคาตามมูลค่า  สูงกว่ามูลค่า  หรือต่ำกว่ามูลค่าได้  ในกรณีที่เสนอขายหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่า  ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกำหนดต้องส่งใช้พร้อมกับเงินค่าหุ้น(มาตรา 51) ส่วนการเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าจะกระทำได้เฉพาะบริษัทที่เปิดดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  และปรากฏว่ามีผลขาดทุน  แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและให้กำหนดอัตราส่วนลดระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย(มาตรา 52)

6. หุ้นที่จดทะเบียนและหุ้นที่     

    ออกจำหน่าย

จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายจะต้องเท่ากับจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน  กล่าวคือจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อจนครบหมดทุกหุ้นและเมื่อได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนอย่างน้อย 25 %ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อพร้อมทั้งส่วนเกินมูลค่าหุ้นทั้งหมด(ถ้ามี) จึงจะไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้(มาตรา 1104 มาตรา 1110 และมาตรา 1111)

จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายอาจน้อยกว่าจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนได้  คือ บริษัทสามารถขายหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เพียงบางส่วนก็ได้  แต่ต้องมีผู้จองซื้อหุ้นไม่น้อยกว่า 50 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด  ที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิและผู้จองหุ้นจะต้องชำระค่าหุ้นเป็นเงินครั้งเดียวจนเต็มมูลค่าพร้อมส่วนเกินมูลค่า(ถ้ามี) จะชำระค่าหุ้นเพียงบางส่วนไม่ได้  และจะขอหักกลบลบกับค่าหุ้นที่ต้องชำระไม่ได้  เมื่อได้รับชำระค่าหุ้นเรียบร้อยแล้ว  จึงจะไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชน จำกัด (มาตรา 27 มาตรา 39 และมาตรา 54)

บทความโดย  :  

จากความหมาย  ลักษณะ  การจัดตั้ง  ของบริษัทจำกัดทั้ง 2 ประเภท  สามารถนำมาเปรียบเทียบเป็นสาระสำคัญ  ได้ดังนี้

รายการ

บริษัทเอกชนจำกัด

(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

บริษัทมหาชนจำกัด

(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

1. ชื่อของบริษัท

ต้องมีคำว่า”บริษัทนำหน้าชื่อและมีคำว่าจำกัดต่อท้ายชื่อ(มาตรา 1098)

ต้องมีคำว่า”บริษัทนำหน้าชื่อและมีคำว่าจำกัด(มหาชน)ต่อท้ายชื่อ(มาตรา 11)

2. จำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท       

     และจำนวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ำ

ผู้เริ่มก่อการต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน(มาตรา 1097)และผู้เริ่มก่อการทุกคน  ต้องลงชื่อซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น(มาตรา 1100) ดังนั้นผู้ถือหุ้นในบริษัทต้องมีไม่น้อยกว่า 7 คน

ผู้เริ่มจัดตั้งต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน(มาตรา 16) และผู้เริ่มจัดตั้งบริษัททุกคนต้องจองหุ้นและหุ้นที่จองทั้งหมดนั้น  ต้องเป็นหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 5 % ของทุนจดทะเบียน(มาตรา 17) ดังนั้นผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนต้องมีไม่น้อยกว่า 15 คน

3. การเสนอขายหุ้น

ห้ามชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้นของบริษัท(มาตรา 1102)

เสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้โดยได้ระบุความประสงค์นี้ไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ(มาตรา 15) อย่างไรก็ตามการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(มาตรา 24)

4. มูลค่าหุ้น

หุ้นของบริษัทต้องมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท (มาตรา 1117)

เหมือนกับบริษัทเอกชนจำกัด(มาตรา 50)

5. การขายหุ้น

บริษัทอาจขายหุ้นในราคาตามมูลค่าหรือสูงกว่ามูลค่าได้  หากได้มีการกำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแต่จะขายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าไม่ได้  ในกรณีที่ขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดต้องส่งใช้พร้อมกับการส่งใช้เงินค่าหุ้นงวดแรก  ซึ่งเงินส่งใช้ค่าหุ้นงวดแรกต้องไม่น้อยกว่า 25 % ของมูลค่าหุ้น(มาตรา 1105)

บริษัทอาจเสนอขายหุ้นในราคาตามมูลค่า  สูงกว่ามูลค่า  หรือต่ำกว่ามูลค่าได้  ในกรณีที่เสนอขายหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่า  ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกำหนดต้องส่งใช้พร้อมกับเงินค่าหุ้น(มาตรา 51) ส่วนการเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าจะกระทำได้เฉพาะบริษัทที่เปิดดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  และปรากฏว่ามีผลขาดทุน  แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและให้กำหนดอัตราส่วนลดระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย(มาตรา 52)

6. หุ้นที่จดทะเบียนและหุ้นที่     

    ออกจำหน่าย

จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายจะต้องเท่ากับจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน  กล่าวคือจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อจนครบหมดทุกหุ้นและเมื่อได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนอย่างน้อย 25 %ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อพร้อมทั้งส่วนเกินมูลค่าหุ้นทั้งหมด(ถ้ามี) จึงจะไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้(มาตรา 1104 มาตรา 1110 และมาตรา 1111)

จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายอาจน้อยกว่าจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนได้  คือ บริษัทสามารถขายหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เพียงบางส่วนก็ได้  แต่ต้องมีผู้จองซื้อหุ้นไม่น้อยกว่า 50 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด  ที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิและผู้จองหุ้นจะต้องชำระค่าหุ้นเป็นเงินครั้งเดียวจนเต็มมูลค่าพร้อมส่วนเกินมูลค่า(ถ้ามี) จะชำระค่าหุ้นเพียงบางส่วนไม่ได้  และจะขอหักกลบลบกับค่าหุ้นที่ต้องชำระไม่ได้  เมื่อได้รับชำระค่าหุ้นเรียบร้อยแล้ว  จึงจะไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชน จำกัด (มาตรา 27 มาตรา 39 และมาตรา 54)

บทความโดย : https://sites.google.com/

 8116
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores