วิเคราะห์ลูกหนี้การค้า

วิเคราะห์ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้าถือเป็นหัวใจหลักตัวหนึ่งที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการลูกหนี้การค้าไม่ดี ขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่มเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายจะส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผลในปีนั้นเนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ดังนั้นในฐานะนักลงทุนเราควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินที่ดีจะทำให้ถือหุ้นได้อย่างกินอิ่มนอนหลับ
       ลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงินจะเป็นยอดสุทธิระหว่างลูกหนี้รวมทั้งหมดหักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Provision) เป็นการประมาณการยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะไม่สามารถเก็บเงินได้ และซึ่งมีการประมาณการอยู่ 2 วิธี คือ การประมาณจากยอดขาย และการประมาณจากยอดลูกหนี้ และส่วนต่างของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในแต่ละปีจะเกิดขึ้นเป็นรายการหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance) ในงบกำไรขาดทุน ถ้ายอดหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจะเกิดเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน และถ้าหนี้สงสัยจะสูญลดลง จะเกิดเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นรายจ่ายและรายได้ที่ไม่ใช่เงินสด สุดท้ายถ้ากิจการติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วจนกิจการแน่ใจว่าลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ให้แก่กิจการได้ กิจการจะบันทึกรายการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญออกจากบัญชีไป

ตารางแสดงรายละเอียดลูกหนี้การค้าของ Nippon
ตารางที่1 รายละเอียดลูกหนี้การค้าของ Nippon
ที่มา งบการเงินประจำปี 2556

       ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลลูกหนี้การค้าของ NIPPON : บริษัท นิปปอน แพ็ค(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากงบการเงินประจำปี 2556 หมายเหตุข้อ 8. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าสุทธิ โดยในปี 2556 มียอดลูกหนี้รวมทั้งหมด 43.766 ล้านบาท มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ(Provision)  10.576 ล้านบาท และแสดงลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน 33.190 ล้านบาท ในปี 2555 มียอดลูกหนี้รวมทั้งหมด 70.784 ล้านบาท มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Provision)  5.644 ล้านบาท และแสดงลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน 65.140 บาท การที่ลูกหนี้การค้าแสดงยอดลดลงแสดงถึงบริษัทมียอดกิจกรรมค้าขายลดลงทำให้ยอดลูกหนี้ลดลงไปในทิศทางเดียวกัน
       ในปี 2556 และ 2555 บริษัทมียอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 10.576 ล้านบาท และ 5.644 ล้านบาทตามลำดับทำให้เกิดหนี้สงสัยจะสูญ(Allowance) ในงบกำไรขาดทุนเท่ากับ 10.576- 5.644 = 4.932 ล้านบาท
       นอกจากนั้นบริษัทยังได้แสดงยอดลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระดังภาพ ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพลูกหนี้ได้ดังต่อไปนี้ โดยในบทความนี้จะทำการเปรียบเทียบระหว่างหุ้น 2 ตัวคือ Nippon และ PJW ซึ่งเป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมบรรจุภัทฑ์เช่นเดียวกัน

1.NPL/Total loans

       เปรียบเทียบระหว่าง NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ถ้าสัดส่วนนี้สูงแสดงว่าบริษัทจัดการลูกหนี้การค้าได้ไม่ดีปล่อยให้มีหนี้ค้างเกินกำหนดมากกว่า 3 เดือนจำนวนมาก โดยในบทความนี้จะใช้ตามมาตรฐานของธนาคารที่ให้ NPL คือ ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน จะเห็นว่า Nippon ณ สิ้นปี 2556 และ 2555 มียอดลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือนคือ 24.71% และ 9.07% ในขณะที่ PJW มีสัดส่วนเพียง 1.31% และ 0% ตามลำดับ
2. Allowance/Totals
       เป็นการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน (แสดงเป็นตัวเลขบวกกลับในงบกระแสเงินสด)กับลูกหนี้รวมของบริษัท ถ้าสัดส่วนนี้สูงแสดงว่าลูกหนี้การค้าของบริษัทส่งผลกับงบกำไรขาดทุนมาก ถ้าบริษัทไม่สามารถจัดการได้หนี้สงสัยจะสูญก็จะเป็นตัวกดดันกำไรให้ต่ำลง

บทความโดย : www.duangprakasit.com

 21288
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores