1. ความหมายของผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ |
ผลิตภัณฑ์ร่วม (Joint product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดขึ้นไปซึ่งผลิตได้จากวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเดียวกัน หากผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดสามารถนำออกขายได้ในระดับราคาใกล้เคียงกันก็มักถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม เช่น การกลั่นน้ำมันดิบย่อมได้ผลิตภัณฑ์หลายประเภท ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันก๊าด ยางมะตอย และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอื่น ๆ หรือในการชำแหละสุกร ก็จะได้เนื้อสันใน เนื้อสันนอก เนื้อสะโพก เครื่องใน ไขมัน ฯลฯ พร้อมกัน
ผลิตภัณฑ์พลอยได้ (By product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หลัก โดยปกติปริมาณ และมูลค่าของผลิตภัณฑ์พลอยได้จะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์หลักมาก
การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ประเภทใดควรเข้าลักษณะใดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิธีคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีแตกต่างกันมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ภายหลัง ในกรณีมีข้อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตร่วมกันนั้นควรจัดเข้าประเภทใด กรณีเช่นนี้ให้พิจารณาที่มูลค่าขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน หากมีราคาในระดับใกล้เคียงกันจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม แต่ถ้ามีราคาแตกต่างกันอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงจะถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ส่วนที่มีราคาต่ำกว่ามาก ๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมเดียวกัน กิจการแห่งหนึ่งอาจถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ในขณะที่กิจการอีกแห่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นชนิดใดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิธีการคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อข้อมูลทางการบัญชี สำหรับต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ มีดังนี้
ต้นทุนร่วม (Joint cost) หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดที่เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิด ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นจุดแยกตัวหรือจุดแยกออก (Split-off point) ดังนั้นจุดแยกตัวจึงเป็นจุดที่แยกผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั่นเอง
ต้นทุนหลังจุดแยกตัว หรือต้นทุนผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว (Separable costs) คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งไปผลิตต่อจนเสร็จพร้อมที่จะขายได้ ต้นทุนหลังจุดแยกตัวจะเท่ากับต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวจนกระทั่งผลิตเสร็จ ข้อแตกต่างจากต้นทุนประเภทนี้กับต้นทุนร่วม คือ เราสามารถทราบได้ว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใด จำนวนเท่าใด จึงคำนวณต้นทุนเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย
2. การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วม |
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ร่วมเกิดจากกระบวนการผลิตเดียวกัน เป็นการยากที่จะคำนวณต้นทุนการผลิตในกระบวนการผลิตร่วม (Joint process) ให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด จึงต้องมีการปันส่วนต้นทุนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพการผลิต วัตถุประสงค์ของการปันส่วนต้นทุนร่วมก็เพื่อจะตีราคาสินค้าคงเหลือและจัดทำงบการเงินประจำงวด เพราะถ้ากิจการไม่ทราบต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ก็ไม่สามารถคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย ตีราคาสินค้าคงเหลือ และไม่สามารถจัดทำงบการเงินได้
ในทางปฏิบัติ กิจการอาจขายผลิตภัณฑ์ร่วมทันที ณ จุดแยกตัว หรืออาจนำไปผลิตต่อ การตัดสินใจจะขายหรือผลิตต่อ ขึ้นกับสภาพการผลิตของกิจการ และกำไรส่วนเพิ่ม (Incremental profit)
วิธีการปันส่วนต้นทุนร่วมมี 4 วิธี ได้แก่
1) วิธีถัวเฉลี่ย (Average method) แบ่งโดยถัวเฉลี่ยต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตามจำนวนหน่วยที่ผลิตได้ โดยถือหลักว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้ผ่านกระบวนการผลิตอันเดียวกันก็ควรจะได้รับต้นทุนการผลิตเท่า ๆ กัน นั่นคือ ต้นทุนก่อนจุกแยกตัวต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะเท่ากันซึ่งอาจเป็นปัญหาในการรายงานผลิกำไรขาดทุนของกิจการ สินค้าบางชนิดจะขาดทุน บางชนิดจะได้กำไรมาก อันเนื่องมาจากราคาขายที่แตกต่างกัน วิธีนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมใบยาสูบ แป้ง การแปรรูปไม้ เป็นต้น
2) วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average method) ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวนวัตถุดิบที่ใช้ เวลาที่ใช้ผลิตต่างกัน จึงเอาข้อแตกต่างมาพิจารณาในรูปของน้ำหนักให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก่อน แล้วจึงแบ่งต้นทุนร่วมให้ตามสัดส่วนของน้ำหนักที่คำนวณได้ วิธีนี้ใช้กับอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือผลไม้กระป๋อง น้ำมัน เคมีภัณฑ์ เป็นต้น วิธีนี้อาจมีปัญหาในการกำหนดจำนวนน้ำหนักที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
3) วิธีราคาตลาด (Market value) หรือ มูลค่าขายสัมพัทธ์ (Relative sales value) ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ เพื่อหวังกำไร ดังนั้น ราคาขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะครอบคลุมส่วนที่เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งกำไรที่กิจการต้องการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ราคาขายมีส่วนสันพันธ์กับต้นทุน ผลิตภัณฑ์ชนิดใดที่มีราคาขายต่อหน่วยสูงก็น่าจะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย และผลิตภัณฑ์ชนิดใดมีราคาต่อหน่วยต่ำก็จะมีต้นทุนต่ำไปตามสัดส่วน
- มูลค่าขายสัมพัทธ์หรือราคาตลาด เกณฑ์นี้จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำสินค้าออกขายทันที ณ จุดแยกตัว
- มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำผลิตภัณฑ์ไปผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว ซึ่งมูลค่าขายที่ถูกประมาณขึ้นมาภายใต้สภาพการค้าโดยปกติ แล้วหักด้วยต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกากรผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว กิจการที่ไม่สามารถหาราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ ณ จุดแยกตัวเนื่องจากไม่มีตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ อาจใช้เกณฑ์มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม
4) วิธีอัตรากำไรคงที่ ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่จะให้กำไรแก่กิจการในอัตราเท่าเทียมกัน จึงมีการกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการไว้ล่วงหน้าแล้วนำอัตรากำไรนี้ไปคำนวณจำนวนกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์ร่วมแต่ละประเภท และนำไปคำนวณหาต้นทุนรวมและต้นทุนก่อนจุดแยกตัว ซึ่งเป็นต้นทุนร่วมที่แบ่งให้สินค้าแต่ละชนิด
การปันส่วนต้นทุนร่วม พิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ แสดงการขายทันที ณ จุดแยกตัวโดยไม่นำไปผลิตต่อ และ แสดงการขายหลังผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว เป็นดังนี้
2.1 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว โดยไม่นำไปผลิตเพิ่มเติม
ตัวอย่าง บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด ผลิตสินค้าได้ 3 ชนิด ต้นทุนร่วมในการผลิตเท่ากับ 360,000 บาท กิจการนำสินค้าทั้งหมดออกขายทันที ณ จุดแยกตัว ข้อมูลการผลิตและขายทั้ง 3 ชนิด ในระหว่างเดือน มกราคม 2548 มีดังนี้
|
น้ำหนักที่ผลิตได้ (กิโลกรัม) |
ปริมาณที่ผลิต (หน่วย) |
ปริมาณขาย (หน่วย) |
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) |
สินค้า ก |
10,000 |
5,000 |
4,000 |
32 |
สินค้า ข |
15,000 |
6,000 |
5,000 |
24 |
สินค้า ค |
5,000 |
7,000 |
6,000 |
28 |
รวม |
30,000 |
18,000 |
15,000 |
|
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด โดยแบ่งต้นทุนร่วม เป็นดังนี้
1) วิธีถัวเฉลี่ย
ต้นทุนร่วมต่อหน่วย = ต้นทุนร่วมทั้งหมด/ปริมาณรวมของสินค้า
= 360,000/18,000
= 20 บาทต่อหน่วย
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้
สินค้า |
ปริมาณผลิต |
ต้นทุนร่วมแบ่งให้ |
ต้นทุนต่อหน่วย |
ราคาขายต่อหน่วย |
กำไรต่อหน่วย |
%ของกำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
100,000 |
20 |
32 |
12 |
37.50 |
ข |
6,000 |
120,000 |
20 |
24 |
4 |
16.60 |
ค |
7,000 |
140,000 |
20 |
28 |
8 |
28.60 |
รวม |
18,000 |
360,000 |
|
|
|
|
2) วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ใช้นำหนักของสินค้าแต่ละชนิด)
ต้นทุนร่วมต่อหน่วย = ต้นทุนร่วมทั้งหมด/น้ำหนักรวมของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้
= 360,000/30,000
= 12 บาทต่อปอนด์
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้
สินค้า |
น้ำหนักที่ผลิตได้ |
ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้ |
ปริมาณผลิต |
ต้นทุนต่อหน่วย |
ราคาขายต่อหน่วย |
กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย |
% ของกำไรต่อยอดขาย |
ก |
10,000 |
120,000 |
5,000 |
24 |
32 |
8 |
25 |
ข |
15,000 |
180,000 |
6,000 |
30 |
24 |
(6) |
(25) |
ค |
5,000 |
60,000 |
7,000 |
8.57 |
28 |
19.43 |
69.4 |
รวม |
30,000 |
360,000 |
18,000 |
|
|
|
|
3) วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์
อัตราร้อยละของต้นทุนร่วมต่อมูลค่าขาย = ต้นทุนร่วม x 100/มูลค่าขาย
= 360,000 x 100/500,000
= 72%
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้
สินค้า |
ปริมาณที่ผลิต |
ราคาขายต่อหน่วย |
มูลค่าขาย |
ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้ |
ต้นทุนต่อหน่วย |
กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย |
% ของกำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
32 |
160,000 |
115,200 |
23.04 |
8.96 |
28 |
ข |
6,000 |
24 |
144,000 |
103,680 |
17.28 |
6.72 |
28 |
ค |
7,000 |
28 |
196,000 |
141,120 |
20.16 |
7.84 |
28 |
รวม |
18,000 |
|
500,000 |
360,000 |
|
|
|
4) วิธีอัตรากำไรคงที่ (สมมติกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการ 25% ของมูลค่าขาย)
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ร่วม = มูลค่าขายสินค้า – กำไรที่คาดว่าจะได้รับ
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ก = 160,000 – 25%(160,000) = 120,000บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ข = 144,000 – 25%(144,000) = 108,000บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ค = 196,000 – 25%(196,000) = 147,000บาท
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้
สินค้า |
ปริมาณผลิต |
ต้นทุนร่วมก่อนจุดแยกตัว |
ต้นทุนต่อหน่วย |
ราคาขายต่อหน่วย |
กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย |
%ของกำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
120,000 |
24 |
32 |
8 |
25 |
ข |
6,000 |
108,000 |
18 |
24 |
6 |
25 |
ค |
7,000 |
147,000 |
21 |
28 |
7 |
25 |
หากปรับอัตรากำไรที่ต้องการจาก 25% ของมูลค่าขาย เป็น 28% ของมูลค่าขาย ผลการคำนวณจะเป็นเช่นเดียวกับวิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์
เมื่อสรุปผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิดตามเกณฑ์การปันส่วนที่แตกต่างกันสรุปผลดังนี้
เกณฑ์การปันส่วน |
ต้นทุนต่อหน่วย (บาท) |
อัตรากำไรขั้นต้น (%) |
||||
ก |
ข |
ค |
ก |
ข |
ค |
|
1. วิธีถัวเฉลี่ย |
20 |
20 |
20 |
37.50 |
16.60 |
28.60 |
2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก |
24 |
30 |
8.57 |
25.00 |
(25.00) |
69.40 |
3. วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์ |
23.04 |
17.28 |
20.16 |
28 |
28 |
28 |
4. วิธีอัตรากำไรคงที่ (28%) |
23.04 |
17.28 |
20.16 |
28 |
28 |
28 |
การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล
บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบกำไรขาดทุน (บางส่วน)
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548
วิธีถัวเฉลี่ย
|
ก |
ข |
ค |
รวม |
ขาย |
128,000 |
120,000 |
168,000 |
416,000 |
หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย |
80,000 |
100,000 |
120,000 |
300,000 |
กำไรขั้นต้น |
48,000 |
20,000 |
48,000 |
116,000 |
วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
|
ก |
ข |
ค |
รวม |
ขาย |
128,000 |
120,000 |
168,000 |
416,000 |
หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย |
96,000 |
150,000 |
51,000 |
297,000 |
กำไรขั้นต้น |
32,000 |
(30,000) |
117,000 |
119,000 |
วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่
|
ก |
ข |
ค |
รวม |
ขาย |
128,000 |
120,000 |
168,000 |
416,000 |
หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย |
92,000 |
86,000 |
121,000 |
299,000 |
กำไรขั้นต้น |
36,000 |
34,000 |
47,000 |
117,000 |
บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบดุล (บางส่วน)
วันที่ 31 มกราคม 2548
|
วิธีถัวเฉลี่ย |
วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก |
วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่ |
สินค้าคงเหลือ |
ก (1,000 x 20)= 20,000 |
ก (1,000 x 24)= 24,000 |
ก (1,000 x 23.04)= 23,040 |
ข (1,000 x 20)= 20,000 |
ข (1,000 x 30)= 30,000 |
ข (1,000 x 17.28)= 17,280 |
|
ค (1,000 x 20)= 20,000 |
ค (1,000 x 8.57)=8,570 |
ค (1,000 x 20.16)= 20,160 |
|
60,000 |
62,570 |
60,480 |
2.2 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว โดยนำไปผลิตเพิ่มเติม
ตัวอย่าง จากตัวอย่างเดิม บริษัทนำสินค้า ข และสินค้า ค ไปผลิตเพิ่มเติมเนื่องจากไม่มีตลาดรับซื้อโดยเกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มเติม 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ โดยมีปริมาณผลิตและขายสินค้า ดังนี้
สินค้า |
ปริมาณผลิต (หน่วย) |
ปริมาณขาย (หน่วย) |
สินค้าคงเหลือ (หน่วย) |
ราคาขายต่อหน่วย(บาท) |
ก |
5,000 |
4,000 |
1,000 |
32 |
ข |
6,000 |
5,000 |
1,000 |
40 |
ค |
7,000 |
6,000 |
1,000 |
50 |
ข้อมูลต่าง ๆ สรุปได้ดังภาพ
1) วิธีถัวเฉลี่ย เมื่อใช้ปริมาณหน่วยผลิตเป็นเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุน ซึ่งสินค้าทุกชนิดได้รับการปันส่วนหน่วยละ 20 บาท แล้วจึงนำต้นทุนเพิ่มหลังจุดแยกตัวมารวม เพื่อหาต้นทุนทั้งหมดและต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนรวมแสดงได้ดังนี้
สินค้า |
ปริมาณผลิต (หน่วย) |
ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท) |
ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท) |
ต้นทุนรวม(บาท) |
ต้นทุนต่อหน่วย (บาท) |
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) |
กำไรต่อหน่วย (บาท) |
%กำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
100,000 |
- |
100,000 |
20 |
32 |
12 |
37.5 |
ข |
6,000 |
120,000 |
40,000 |
160,000 |
26.67 |
40 |
13.33 |
33.3 |
ค |
7,000 |
140,000 |
110,000 |
250,000 |
35.71 |
50 |
14.29 |
28.6 |
รวม |
18,000 |
360,000 |
150,000 |
510,000 |
|
|
|
|
2) วิธีมูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์
มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ = มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้ – ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม
สินค้า |
ปริมาณผลิต (หน่วย) |
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) |
ยอดขายรวม (บาท) |
ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท) |
มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์(บาท) |
ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท) |
ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท) |
ต้นทุนต่อหน่วย (บาท) |
กำไรต่อหน่วย (บาท) |
%กำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
32 |
160,000 |
- |
160,000 |
96,000 |
96,000 |
19.20 |
12.80 |
40.0 |
ข |
6,000 |
40 |
240,000 |
40,000 |
200,000 |
120,000 |
160,000 |
26.67 |
13.33 |
33.3 |
ค |
7,000 |
50 |
350,000 |
110,000 |
240,000 |
144,000 |
254,000 |
36.29 |
13.71 |
27.4 |
รวม |
18,000 |
|
750,000 |
150,000 |
600,000 |
360,000 |
510,000 |
|
|
|
3) วิธีอัตรากำไรคงที่ (กำหนดอัตรากำไรคงที่ 32% ของค่าขาย)
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของสินค้า = มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้ – กำไรที่ต้องการ - ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม
สินค้า |
ปริมาณผลิต (หน่วย) |
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) |
ยอดขายรวม (บาท) |
จำนวนกำไรที่ต้องการ(บาท) |
ต้นทุนผลิตเพิ่ม(บาท) |
ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท) |
ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท) |
ต้นทุนต่อหน่วย (บาท) |
กำไรต่อหน่วย (บาท) |
%กำไรต่อยอดขาย |
ก |
5,000 |
32 |
160,000 |
51,000 |
- |
108,800 |
108,800 |
21.76 |
10.24 |
32 |
ข |
6,000 |
40 |
240,000 |
76,800 |
40,000 |
123,200 |
163,200 |
27.20 |
12.80 |
32 |
ค |
7,000 |
50 |
350,000 |
112,000 |
110,000 |
128,000 |
238,000 |
34.00 |
16.00 |
32 |
รวม |
18,000 |
|
750,000 |
240,000 |
150,00 |
360,000 |
510,000 |
|
|
|
บทความโดย : https://home.kku.ac.th