การซื้อ ( purchase )และการรวมส่วนได้เสีย( pooling ) นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M&Aซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการเช่น การขยายกิจการ การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มมูลค่ากิจการ ฯลฯ อย่างไรก็ดีประเด็นสำคัญที่นักวิเคราะห์ควรใส่ใจในเรื่องนี้ก็คือ การเปรียบเทียบกันของรายงานก่อนทำ M&A กับหลังทำ M&A ซึ่งผลกระทบของรายงานอาจมาจากการตัดสินใจในทางเลือกทางการบัญชี
การบัญชีสำหรับการซื้อ
สิ่งที่ pooling แตกต่างจาก purchase
เงื่อนไขของการใช้วิธี pooling ตาม APB16
มาตรฐานบัญชี 43 การรวมธุรกิจ ปรับปรุง ฉบับ ปี 50
เพิ่งจะมีการประกาศใช้ จุดสำคัญคือ ยกเลิกวิธีการรวมส่วนได้เสียเหลือวิธี purchase ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก
มาตรฐานที่ 43 ที่ ปรับปรุงใหม่ มีดังนี้
1. การบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ
1. การบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ
- การบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจในทุกกรณีให้ปฏิบัติตามวิธีซื้อ
2. การระบุผู้ซื้อ
- ในการรวมธุรกิจทุกกรณี ต้องระบุให้ชัดเจนว่ากิจการใดเป็นผู้ซื้อ(เพราะถือว่ากิจการนั้นมีอำนาจในการควบคุม)
3. ต้นทุนการรวมธุรกิจ
3.1 ผู้ซื้อต้องวัดต้นทุนการรวมธุรกิจจาก
- มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์ที่ให้ไป หนี้สินที่รับมา และตราสารทุนที่ออกโดยผู้ซื้อ
- ต้นทุนอื่น ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวมธุรกิจ
4. ค่าความนิยม
4.1 ณ วันที่ซื้อผู้ซื้อต้องปฏิบัติ ดังนี้
- รับรู้ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจเป็นสินทรัพย์(ซึ่งยังเหมือนเดิมก่อนจะปรับปรุง)
- กิจการต้องมูลค่าเริ่มแรกของค่าความนิยมด้วยราคาทุน ซึ่งคือส่วนต่างของต้นทุนการรวมธุรกิจที่สูงกว่าส่าวนได้เสียของผู้
ซื้อในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิและหนี้สิน
4.2 หลังจากรับรู้ค่าความนิยมเริ่มแรกแล้วผู้ซื้อต้องวัดค่าความนิยมด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม
4.3 ผู้ซื้อต้องไม่ตัดจำหน่ายค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจแต่ต้องทดสอบการด้อยค่าแทนทุกปี
5. ส่วนเกินของส่วนได้เสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่สูงกว่าต้นทุน (เดิมคือค่าความนิยมติดลบ)
5.1 ถ้าส่วนได้เสียของผู้ซื้อสูงกว่าต้นทุนผู้ซื้อต้องปฏิบัติดังนี้
- ประเมินการระบุและการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน ที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อใหม่ รวมทั้งการประเมินต้นทุนในการรวม
ธุรกิจใหม่ด้วย
- รับรู้ส่วนเกินที่คงเหลือหลังจากการประเมินใหม่ในกำไรหรือขาดทุนทันที
ผลกระทบ
งบดุล - วิธี Purchase, net asset และ equity จะสูงกว่าเพราะในงบดุลของผู้ซื้อจะบันทึก asset ด้วยราคายุติธรรมเลยทำให้มีค่า
ความนิยม และมีผลให้ Equity สูงขึ้นด้วย
- วิธี polling, net asset และ equity จะต่ำกว่า
งบกำไรขาดทุน - วิธี Purchase, Selling and Admin Exp. จะสูงเพราะการบันทึก asset ด้วยราคายุติธรรมทำให้ค่าเสื่อมสูง และ
ทำให้กำไรต่ำลงด้วย
- วิธี Polling , Selling and Admin Exp. จะต่ำกว่า ส่วนกำไรสูงกว่า
อัตราส่วนทางการเงิน
วิธี Purchase - turnover ต่ำเพราะ Asset สูงขึ้น
- ROA ต่ำ เพราะ Asset สูงขึ้น
- coverage ต่ำ เพราะ EBIT ต่ำลง
งบกระแสเงินสด - วิธี Purchase จะมีการจ่ายเงินสดหรือออกหนี้เพื่อที่จะไปซื้อบริษัทผู้ถูกซื้อ ดังนั้น จะทำให้ cash outflow
ใน CFI สูงในการจ่ายซื้อ(CFO ต่ำ) และมี cash inflowใน CFF สูงจากการหาเงินมาจ่ายเช่นเดียวกัน(CFFสูง)
- วิธี polling จะไม่มีการจ่ายเงินสดหรือออกหนี้อย่างมากก็การแลกหุ้น
วิธี Polling จะนิยมใช้เมื่อ
1. ถ้าราคาซื้อสูงกว่ามูลค่าทุนตามบัญชีของกิจการที่ถูกซื้อจะเลือกวิธีการของ Polling
2. กิจการที่ถูกซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษีได้
3. กิจการที่ถูกซื้อมีหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่าราคาทุนเนื่องจากการรวมแบบ Polling จะบันทึกตามราคาทุนเดิมดังนั้นหลังจากการรวมกิจการแล้วจะมีการขายสินทรัพย์ ดังกล่าว ทำให้กำไรของกิจการที่ถูกซื้อเพิ่มสูงขึ้น
วิธี Purchase จะนิยมใช้เมื่อ
1. ราคาซื้อต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของกิจการผู้ถูกซื้อซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมอยู่ในระดับต่ำ กำไรจะสูงขึ้น
2. วิธีการ Purchase ต้องบันทึกรายการทีเป็น off-balance-sheet ของกิจการผู้ถูกซื้อด้วย เช่น กิจการที่ซื้อต้องประมาณการหนี้สินที่ต้องจ่ายชดเชยให้พนักงานเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในอนาคตลดลง
3. ผู้ถือหุ้นเดิมของกิจการผู้ซื้อ ไม่อยากจะสูญเสียหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการลดน้อยลง จากการออกหุ้นแลกกัน โดยผู้ถือหุ้นชอบที่จะใช้เงินสด หรือ หลักทรัพย์ที่ไม่มีผลต่อการออกเสียง ในการซื้อกิจการ
ผลจากการวิจัย
การตอบสนองของตลาด
1. Polling, no market reaction (ไม่มีปฏิกิริยาการตอบสนอง)
2. Purchase, Positive reaction (มีการตอบสนองในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ)
บทความโดย : http://xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com