TH
TH
EN
062-310-5613
Menu
Home
Product
Sales Order
Purchase Order
Inventory Control
Accounts Receivable
Accounts Payable
General Ledger
Petty Cash
Cheque Receivable
Cheque Payment
Bank Adjustment
VAT & Withholding Tax
Sales Force Automation
Approve Center
Financial Management
Sale Analysis
Purchase Analysis
Audit and Internal Control
Security Administrator
Mobile Apps
API Lazada & Shopee
Work Flow
Pricing
ราคาแพ็กเกจ
เงื่อนไขการให้บริการ
วิธีการชำระเงิน
Service
จองอบรมโปรแกรม
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
การวางระบบบัญชี และการเริ่มต้นใช้งาน
รายละเอียดการ Update Version
นโยบายการรักษาข้อมูล
Customers
Site Reference
Partners สถาบันการศึกษา
More
โครงการเพื่อสังคม
ฟังก์ชันสำหรับสำนักงานบัญชี
เหตุผลที่เลือกใช้ myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย myAccount Cloud
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
News
Blog
Partners
Partners สำนักงานบัญชี
สถาบันการศึกษา
About Us
Our Story
Social Enterprise
Office Location
Our Business
Prosoft Group
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
วางแผนหนี้สิน
วางแผนหนี้สิน
ย้อนกลับ
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
วางแผนหนี้สิน
วางแผนหนี้สิน
ย้อนกลับ
“ชีวิตที่ปลอดหนี้”
เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง การประคับประคองตัวไม่ให้เป็นหนี้ในยุคนี้แสนจะลำบากยากเย็น เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนล้วนเจอแต่หนทางสร้างหนี้แบบง่ายๆ ได้รอบด้าน ทั้งตีนสะพานลอย บนสถานีรถไฟฟ้า หน้าห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งทางสายโทรศัพท์ หลายคนจึงรู้จักและคุ้นเคยกับหนี้เป็นอย่างดี เพราะเดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็พากันกู้ซื้อบ้าน ผ่อนรถ กดเงินสด กู้เงินด่วน หรือรูดบัตรเครดิตกันทั้งนั้น
หากจะว่ากันไป...
“การเป็นหนี้”
ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายหรือเป็นเรื่องเสียหายไปซะทั้งหมด และหนี้ก็ไม่ได้มีแต่แง่มุมในด้านลบเท่านั้น หากแต่แง่บวกของหนี้ก็ยังมีเช่นกัน ถ้าเรารู้จักเป็นหนี้ให้ถูกวิธีหนี้ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับเราได้
หนี้ในโลกนี้จึงมีทั้ง
“หนี้ดี”
และ
“หนี้ไม่ดี”
ซึ่งกุญแจสำคัญในการแยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดีออกจากกันก็คือ
“วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้”
และ
“ผลลัพธ์ที่เกิดจากการก่อหนี้”
ของบุคคลนั้น
คำตอบง่ายๆ หมั่นท่องจำไว้ว่า... สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น
“หนี้ดี”
ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น
กล่าวคือ มีรายได้หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน
หากตกเรื่องความมั่งคั่งหรือสภาพคล่องข้อใดข้อหนึ่งไปจะถือว่าหนี้นั้นเป็น
“หนี้ไม่ดี”
ทันที
ตัวอย่างเช่น นายเอกกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง แม้ว่านายเอกจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเป็นประจำทุกเดือน แต่นายเอกก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการค่อยๆ สะสมความเป็นเจ้าของ (เงินต้นที่ไปหักหนี้ออกทุกเดือน) รวมไปถึงมูลค่าบ้านและที่ดินที่สูงขึ้นตามเวลา อย่างนี้ถือว่าการซื้อบ้านสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนายเอกได้
คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่า... จำนวนเงินผ่อนรายเดือน ทำให้นายเอกมีปัญหาสภาพคล่องหรือเปล่า? ถ้าซื้อบ้านแล้วไม่มีปัญหาสภาพคล่อง ก็จะว่าถือว่าบ้านหลังนี้เป็นหนี้ดี แต่ถ้าส่งบ้านแล้วทำให้เงินไม่พอใช้ อย่างนี้ก็ถือเป็นหนี้ไม่ดี
หรือหาก น.ส.บีม กู้เงินมาเรียนต่อปริญญาโท ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาต่อทำให้คนเรามีวิชาความรู้เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้มั่งคั่งได้ในอนาคต ดังนั้น การจะพิจารณาว่าการกู้ยืมเพื่อการศึกษาสร้างหนี้ดีหรือไม่ดี ก็ให้ดูที่ความสามารถในการผ่อนชำระคืนเช่นกัน
สุดท้ายเป็นตัวอย่างสุดคลาสสิค นั่นคือ การกู้เงินซื้อรถยนต์ หากพิจารณาจากเกณฑ์ความมั่งคั่งจะพบว่า... การซื้อรถยนต์นั้นจัดเป็นหนี้ไม่ดีทันที เพราะภายหลังจากเราถอยรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นท์ ไม่มีทางเลยที่มูลค่ารถยนต์ของเราจะเพิ่มขึ้น มีแต่เสื่อมลงเรื่อยๆ
แต่สำหรับกรณีของรถยนต์นั้น อาจต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด เพราะแม้ว่ามูลค่าของรถจะไม่มีทางเพิ่มขึ้น แต่หากการซื้อรถทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเราลดลง (ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ ค่าน้ำมัน และค่าดูแลรักษา น้อยกว่า ค่าเดินทางที่ต้องจ่ายอยู่เดิม) หรือหากการมีรถยนต์ทำให้เราสามารถรับงานพิเศษที่สร้างรายได้ให้มากขึ้นได้ เพียงพอที่จะจัดการกับค่าใช้จ่าย และทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น อย่างนี้การซื้อรถยนต์ก็สามารถสร้างความมั่งคั่งให้เราได้เช่นกัน
จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง
“หนี้ดี”
และ
“หนี้ไม่ดี”
ค่อนข้างต้องอาศัยการไตร่ตรองที่ลึกซึ้งมากกว่าที่จะใช้เกณฑ์ใดๆ ตัดสินตายตัว เพราะท้ายที่สุดแล้ว... เชื่อว่าคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับปัญหาทางการเงิน มีเพียงคำตอบที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคลเท่านั้น สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องสามารถพินิจพิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางการเงินของเราได้เอง และแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ นั่นต่างหากคือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาทางการเงินได้
ทางที่ดี... ถ้ายังไม่เป็นหนี้ ก็อย่าพยายามสร้างหนี้ แต่เมื่อหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว ก็พยายามควบคุมหนี้ทุกประเภทอย่าให้เกิน 50% ของรายได้ อย่าลืมว่าในแต่ละเดือนคุณยังต้องกินต้องใช้ หากสร้างหนี้กองพะเนินเอาไว้ แล้วคุณจะเอาเงินที่ไหนใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิต
โดยสรุป
“การมีหนี้”
ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า... เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก
มาถึงตรงนี้... ลองสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตอนนี้คุณมีหนี้อยู่หรือไม่?
“ถ้ามี”
จัดเป็นหนี้ประเภทใดมากกว่ากัน ระหว่างหนี้ดีกับหนี้ไม่ดี ถ้าคำตอบ คือ ไม่มีหนี้หรือมีแต่หนี้ดี ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย และทำนายได้เลยว่าคุณมีสิทธิที่จะมั่งคั่งได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณมีหนี้และเป็นหนี้ไม่ดีด้วยละก็ บอกไว้เลยว่า
“ความมั่งคั่ง”
กับชีวิตของคุณยังคงเป็นเพียงเส้นขนาน
https://www.set.or.th/set
832
ผู้เข้าชม
หมวดหมู่
1145
ทั้งหมด
บัญชีโคตรง่าย
1110
การตลาด
11
บริหารธุรกิจ
12
ซอฟท์แวร์
12
ซอฟท์แวร์บัญชี
11
ซอฟท์แวร์ CRM
1
Get started for free today.
ทดลองใช้งานฟรี
×
โทร
062-310-5613
×
Line
×
ฟอร์มการติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
บริษัท :
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล :
ประเภทการติดต่อ :
สอบถาม
สนใจสินค้าและบริการ
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
ร้องเรียนบริการ
ดาวน์โหลดโปรแกรม
ทดลองใช้งานออนไลน์ (Online Demo)
อื่นๆ
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม เชียงใหม่
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม กรุงเทพฯ
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
จองอบรมออนไลน์
ร่วมเป็น Partners กับ myAccount
ร่วมเป็น Education กับ myAccount
จองอบรม Online
ลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี
เรื่อง :
รายละเอียด :
รอบอบรมออนไลน์ :
- เลือกรอบอบรมออนไลน์ -
17-18 ธันวาคม 2567 (เวลา 09:00 - 16:00)
22-23 มกราคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 กุมภาพันธ์ 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 มีนาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 เมษายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
18-19 มิถุนายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 กรกฎาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
20-21 สิงหาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 กันยายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 ตุลาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 พฤศจิกายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 ธันวาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
ส่งข้อความ
ยกเลิก
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com