Exit Strategy วิถีสตาร์อัพ ‘จังหวะ’ คือทุกสิ่ง

Exit Strategy วิถีสตาร์อัพ ‘จังหวะ’ คือทุกสิ่ง

        งจรของการ Exit ด้วยการควบรวมหรือถูกซื้อกิจการถือเป็น “วิถี” และ “วงจร” ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังสะท้อนภาพโลกของธุรกิจที่กำลังจะเดินกลับไปสู่วิถีของการกินรวบที่ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือเปล่า?

        ข่าวการควบรวมและซื้อกิจการของสตาร์ทอัพไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ ทำให้คนที่อยู่นอกวงการอาจมองว่า นี่คือคลื่นระลอกสุดท้ายของธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือกำลังจะหมดยุคของ “ปลาเร็วกินปลาช้า”? โลกธุรกิจกำลังจะเดินกลับไปสู่วิถีของการกินรวบที่ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือเปล่า?

        แม้กระทั่งในวงการธุรกิจโลก 4 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ใน Silicon Valley ก็กำลังโดนกระทรวงยุติธรรมสหรัฐเข้าแทรกแซงและกล่าวหาว่าใช้กลยุทธ์ Copy-Acquire-Kill เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโต อีกนัยหนึ่งก็คือ 1) “ลอก” ไอเดียของสตาร์ทอัพคู่แข่งที่เป็นรายเล็กกว่า 2) เดินหน้าเข้า “ซื้อ” กิจการเมื่อเดินตามเทคโนโลยีหรือโมเดลธุรกิจแบบคู่แข่งแล้วทำได้ไม่ดีเท่า หรือไม่สามารถ Execute ได้อย่างที่ควรจะเป็น และ 3) “ยุบ” ธุรกิจที่ซื้อกิจการเข้ามาเพื่อถ่ายโอนฐานลูกค้าทำให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้แบบที่ไม่ต้องพัฒนาธุรกิจใหม่ขึ้นมาเอง 

        ล่าสุดในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ก็ยังคงเดินหน้าซื้อสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง เช่น Mastercard ซื้อ Fintech ที่ชื่อ Fincity ด้วยมูลค่ากว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ Facebook ซื้อ Giphy ที่ให้บริการ Web Portal แชร์ภาพเคลื่อนไหว Uber ซื้อ Postmates บริการส่งอาหารด้วยมูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Zoom ซื้อกิจการ Keybase สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัย เพื่อยกระดับการให้บริการเข้ารหัสแบบ End-to-End ระดับองค์กร

        แต่สำหรับมุมมองของคนในแวดวงสตาร์ทอัพแล้ว วงจรของการ Exit ด้วยการควบรวมหรือถูกซื้อกิจการถือเป็น “วิถี” และ “วงจร” ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ต่างกันเพียงแค่ว่าใครจะสามารถ Exit ได้ใน “จังหวะ” เวลาที่เหมาะสมกว่ากันเท่านั้น

        การ Exit ในอุดมคติของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักไม่ได้อยู่ที่การเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือ IPO เพราะเส้นทางของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีต้นทุนและความเสี่ยงที่สูงเกินไป คือถ้าทำไม่สำเร็จในกรอบระยะเวลาที่วางแผนไว้ ไม่เพียงไม่คุ้มค่ากับความพยายาม แต่อาจไปสู่จุดที่ทำให้บริษัทพังทลายเพราะการวางกลยุทธ์เพื่อประคับประคองตัวเลข ลดต้นทุนเพื่ออัดฉีดผลกำไรในช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจเสียโฟกัสในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เกิดความล่าช้าในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้ใน Medium-Long term 

        หลายบริษัทที่พยายาม Exit ด้วยการวางโรดแมพสู่ IPO แต่แล้วต้องล้มเลิกกลางคันเพราะโชคร้ายที่เจอกับปัจจัยใหญ่ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งสภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ที่เป็นเหตุสุดวิสัยอย่าง Covid-19

        บริษัทกลุ่มนี้อาจจำเป็นต้องเลือกเส้นทางใหม่ เช่น การควบรวมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อความอยู่รอดและการเติบโตต่อในอนาคต การ Exit ในช่วงเวลาแบบนี้ถึงแม้หลายคนที่อยู่วงนอกมองว่าน่าเสียดายและเสียโอกาส แต่ไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่า Founder ว่านี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับวันนี้ เพราะการทำธุรกิจจังหวะคือทุกสิ่งทุกอย่าง

        ทางเลือกที่ดีที่สุดของการเติบโตอาจไม่ได้จบลงที่การนำพาธุรกิจไปสู่การเป็น Listed Company แต่อาจเป็นการควบรวมกิจการที่เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไปได้ มีธุรกิจจำนวนมากทั้งองค์กรใหญ่และสตาร์ทอัพที่เลือกการควบรวมเพื่อการเติบโตและอยู่รอด

        “หลังจากนี้จะหมดยุคของ Big Exit แต่เป็นช่วงเวลาของ Many Small Exits” เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์สายกลยุทธ์ M&A ซึ่งสอดรับกับข้อมูลล่าสุดของดีลการซื้อกิจการในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ลดลงอย่างเห็นได้ชัดและดีลที่เกิดขึ้นเกือบ 50% เป็นดีลระดับต่ำกว่า 1,000 ล้านซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชัดว่าธุรกิจจำนวนมากที่อยู่ในระยะเติบโต เลือก M&A เป็น Exit Strategy มากกว่าการ IPO ส่วนหนึ่งอาจเพราะสภวะเศรษฐกิจที่ทำให้เสน่ห์ของตลาดหุ้นลดลงในแทบทุกประเทศ ดัชนีราคาหุ้นและ Market Cap ของบริษัทที่เข้าตลาดไปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แทบจะไม่มีใครที่ยังคงรักษา Performance ให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจได้

        สำหรับทีมผู้ก่อตั้ง “จังหวะ” และ “โอกาส” ที่เหมาะสมมาพร้อมกับการเตรียมการที่ดี คำกล่าวที่ว่า “Good companies are bought, not sold” ยังเป็นจริงเสมอ บริษัทที่น่าสนใจคือบริษัทที่มีคนอยากซื้อ ไม่ใช่บริษัทที่เจ้าของอยากขาย มี 3 สิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจควรต้องสร้างไม่ว่าจะต้องการขายธุรกิจหรือไม่ก็ตาม คือ

        1. สร้าง Salable Value ที่ไม่ใช่แค่ตัวเลขผลประกอบการ แต่เป็น Root Strengths ซึ่งอาจเป็น เทคโนโลยี Customer Network หรือ Management Team

        2. สร้าง Relationships กับบริษัทที่น่าจะเป็น Potential Buyer ในอนาคต ทั้งในรูปแบบของการเป็น Customer, Supplier, หรือ Business Partner (70% ของบริษัทที่ Exit มักเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับผู้ซื้อกิจการมาก่อน)

        3. สร้าง Leverage ให้กับธุรกิจ การจะ Exit ได้แบบ Good Deal หรือ Bad Deal ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นมีแต้มต่อขนาดไหน เช่นมี Potential Buyer หลายรายหรือสามารถสร้าง Impact ให้กับผู้ซื้อได้ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การทำให้ตัวเองมี Options คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

        เหนือสิ่งอื่นใดคำว่า “Timing is everything” ไม่ได้มีนัยสำคัญเพียงแค่การเริ่มต้นธุรกิจแต่ยังหมายถึงจังหวะและเวลาที่เหมาะสมที่ทีมผู้ก่อตั้งจะวางมือจากสิ่งเดิมๆ เพื่อเดินต่อกับเป้าหมายใหม่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องของธุรกิจหรือการแสวงหาสิ่งอื่นที่จะมาเติมเต็ม Passion ที่มีในชีวิต

ที่มา : Link
รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/1612
 2016
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์