มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

  • กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตหรือเพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่าหรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน
  • กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบปีบัญชี

ลักษณะของสินทรัพย์ถาวร

  • มีรูปร่าง มีตัวตน
  • มีไว้ใช้งาน
  • มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี
  • มีการเสื่อมสภาพ
  • มีมูลค่าพอสมควร

การรับรู้เป็นสินทรัพย์ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

  1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายการนั้นจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการในอนาคต
  2. กิจการสามารถกำหนดราคาทุนของรายการนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล

รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์

  • บันทึกเป็นสินทรัพย์ เมื่อกิจการได้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น
  • บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

การตีราคาใหม่
ใช้มูลค่ายุติธรรมในการตีราคาใหม่ ดังนี้

  • มูลค่ายุติธรรมของที่ดินและอาคาร คือ ราคาตลาดมักกำหนดจากผู้ประเมินราคาอิสระ
  • มูลค่ายุติธรรมของโรงงานและอุปกรณ์ คือ
    • ราคาตลาดที่ได้จากการประเมิน
    • ราคาเปลี่ยนแทนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม

ความถี่ในการตีราคาใหม่
ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของมูลค่ายุติธรรม ถ้าต่างจากราคาตามบัญชีอย่างมีนัยสำคัญต้องตีราคาใหม่หากกิจการเลือกตีราคาสินทรัพย์รายการใดรายการหนึ่ง กิจการจะต้องตีราคาสินทรัพย์ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับรายการที่เลือกตีราคาใหม่

การบันทึกบัญชี

  • ตีราคาสินทรัพย์เพิ่มให้บันทึกเข้าส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ในภายหลังหากมีการตีราคาลดลงให้บันทึกโดยลดส่วนเกินทุนจนกว่าส่วนเกินทุนสำหรับสินทรัพย์ดังกล่าวจะหมดไป จึงบันทึกเป็นผลขาดทุนจากการตีราคา
  • ตีราคาสินทรัพย์ลดให้บันทึกเป็นผลขาดทุนจากการตีราคา ในภายหลังหากมีการตีราคาเพิ่มขึ้นให้บันทึกโดยลดผลขาดทุน จนกว่าผลขาดทุนสำหรับสินทรัพย์ดังกล่าวหมดไป จึงบันทึกเข้าส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์

ผลขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไม่สามารถนำมาใช้ทางภาษีได้

ค่าเสื่อมราคา
หลักเกณฑ์

  • มูลค่าเสื่อมสภาพต้องปันส่วนอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งาน
  • วิธีการคิดค่าเสื่อมต้องสะท้อนถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการใช้สินทรัพย์
  • ค่าเสื่อมราคาต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย ยกเว้น กรณีต้องนำไปรวมเป็นสินทรัพย์

วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

  • วิธีเส้นตรง
  • วิธียอดลดลง
  • วิธีผลรวมจำนวนปี
  • วิธีตามปริมาณหน่วยผลิต

เงื่อนไขในการเลือกวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

  • เหมาะกับรูปแบบของประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่รูปแบบของประโยชน์จะเปลี่ยนไป

ปัจจัยในการพิจารณากำหนดอายุการใช้งาน

  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยประเมินจากกำลังการผลิตหรือผลผลิต
  • การชำรุดเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • ความล้าสมัยทางเทคโนโลยี หรือความต้องการสินค้าหรือบริการที่เปลี่ยนไป
  • ข้อจำกัดหรือข้อกำหนดของกฎหมายในการใช้สินทรัพย์

การทบทวนอายุการใช้งาน

  • ทบทวนเฉพาะบัญชีอาคารและอุปกรณ์
  • ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าพบว่าอายุการใช้งานต่างไปอย่างมีสาระสำคัญต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่

การทบทวนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

  • ทบทวนเฉพาะบัญชีอาคารและอุปกรณ์
  • ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าพบว่ารูปแบบเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีสาระสำคัญต้องเปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
  • ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
  • ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่สำหรับงวดบัญชีปัจจุบันและอนาคต

หลักเกณฑ์การเลิกใช้และการจำหน่ายสินทรัพย์

  • ต้องตัดบัญชีสินทรัพย์ออกจากงบดุลเมื่อมีการจำหน่ายหรือเลิกใช้
  • ต้องรับรู้ผลต่างเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย
  • กรณีเลิกใช้งานและถือไว้เพื่อรอจำหน่ายต้องแสดงด้วยราคาตามบัญชี ณ วันที่เลิกใช้งาน

การเปิดเผยข้อมูล

  1. เกณฑ์การวัดมูลค่า
  2. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
  3. อายุการใช้งาน หรืออัตราค่าเสื่อมราคา
  4. ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่า ณ วันต้นงวดและสิ้นงวด
  5. รายการกระทบยอดของราคาตามบัญชีระหว่างต้นงวดถึงวันสิ้นงวด โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ
  6. จำนวนและข้อจำกัดในกรรมสิทธิ์ที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน
  7. นโยบายการบัญชีที่ใช้สำหรับประมาณการรายจ่ายในการบูรณะสถานที่หลังเลิกใช้ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  8. จำนวนรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในการสร้างอาคารและอุปกรณ์
  9. จำนวนภาระผูกพันที่ตกลงไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

การเปิดเผยข้อมูลกรณีมีการตีราคาใหม่

  1. เกณฑ์ที่ใช้
  2. วันที่มีการตีราคา
  3. ทำโดยผู้ประเมินราคาอิสระหรือไม่
  4. ลักษณะของดัชนีที่ใช้กำหนดราคาเปลี่ยนแทน
  5. ราคาตามบัญชีแต่ละประเภทหากกิจการเลือกแสดงสินทรัพย์ด้วยราคาทุน
  6. ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ซึ่งกิจการต้องแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของส่วนเกินทุนดังกล่าวในระหว่างงวดและข้อจำกัดในการแบ่งปันส่วนเกินทุนนั้นให้กับเจ้าของ

สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน แสดงในงบแยกกับสินทรัพย์ที่มีตัวตนตามมาตรฐานฉบับที่ 51
         สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน / สินทรัพย์ทางปัญญา ประกอบด้วย ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ความลับทางการค้า แบบผังวงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งหมายความรวมทั้งค่าความนิยม สัมปทาน และสิทธิการเช่า
         Software เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน(ลิขสิทธิ์) ต้องแสดงในงบแยกกับสินทรัพย์ที่มีตัวตน ซึ่งปกติต้องตัดค่าเสื่อมสิ้นเป็นจำนวน 10% เท่ากันทั้งทางบัญชีและภาษี ดังนั้น ในการซื้อ Software ควรกำหนดอายุการใช้งาน เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี เพื่อให้สามารถตัดค่าเสื่อมสิ้นได้ตามอายุการใช้งานจริง

การด้อยค่าของทรัพย์สิน
         ในการพิจารณาว่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใดมีการด้อยค่าหรือไม่ ให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานฉบับที่ 36 เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์

บทความโดย : http://www.mbtech.co.th

 15188
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores