BLOG myAccount Cloud

BLOG myAccount Cloud

1639 Items
ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จำนวนมากไม่ค่อยสนใจเรื่องของโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนของกิจการ เพราะการเริ่มธุรกิจมักจะเริ่มด้วยเงินส่วนตัวที่มีอยู่และเมื่อกิจการเติบโตขึ้นก็ใช้วิธีกู้เงินเท่านั้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กบางรายก็เริ่มธุรกิจด้วยเงินกู้ยืมจากคนอื่นก่อนจึงทำให้กิจการอยู่ไม่รอดเพราะมีภาระดอกเบี้ยจนกลายเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไป เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับธุรกิจที่มีแนวคิดดีแต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่มีการจัดการโครงสร้างทางเงินที่เหมาะสมทำให้ธุรกิจมีหนี้สินมากเกินไป และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจนถึงต้องเลิกกิจการไป
28648 Visitor
งานของนักบัญชีจะเป็นงานเกี่ยวกับ การให้บริการทางบัญชีและการรับทำบัญชีตามสำนักงาน ซึ่งการบันทึกรายการและจัดเก็บข้อมูลรวบรวมลงในบัญชีที่ได้รับมอบหมายให้ทำ เพราะการทำงานบัญชีนั้นจะต้องทำการบันทึกข้อมูลและรายการสินค้าต่างๆ ลงในสมุดบันทึกรายการนั้นเอาไว้ และยังต้องตรวจสอบเอกสารเรื่องเงินทองให้รอบครอบเสมออีกด้วย
3947 Visitor
ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า
86817 Visitor
น้องๆ มัธยมที่กำลังหาคณะหรือสาขาเพื่อวางแผนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา มักมีคำถามมากมายว่า "พี่คะ...เรียนจบบัญชี แล้วไปทำงานอะไรได้บ้างคะ?" วันนี้พี่จะพาน้องๆ ไปคลายข้อสงสัยนี้กันว่า เรียนจบบัญชี จะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง? ตามไปดูทั้ง 8 อาชีพที่เรานำมาฝากกันได้เลย
4418 Visitor
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ 2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า 3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ 4. เพื่อใช้ในการวางแผ นและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ 5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)
231956 Visitor
บัญชีต้นทุน(Cost accounting) มีความแตกต่างกับบัญชีการเงิน (Financial accounting) ในรูปแบบของการใช้งานแต่ทั้งสองบัญชีจะถูกจัดทำขึ้นจากสมุห์บัญชี หรือนักบัญชีที่มีความรู้เรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อนำไปเป็นบัญชีบริหาร (Managerial accounting) โดยทั่วไปบัญชีต้นทุนจะถูกจัดทำขึ้นในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิตเพราะมีความจำเป็นที่ต้องแยกแยะต้นทุนให้ชัดเจนมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น แต่สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่เกือบจะทุกประเภทจะมีการจัดทำบัญชีต้นทุนเพื่อใช้ในการบริหารโดยให้ความสำคัญเท่ากับบัญชีการเงินที่เป็นบัญชีในการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอให้กับบุคคลภายนอกด้วย
2482 Visitor
คุณเคยสงสัยในสิ่งที่แตกต่างระหว่างบัญชีบริหารและการเงินหรือไม่ ดีฉันจะไปขัดแย้งกับความแตกต่างระหว่างพวกเขาในบทความนี้ บัญชีครอบคลุมพื้นที่เช่นการจัดเก็บภาษีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายและระบบสารสนเทศ อย่างไรก็ตามพื้นที่เฉพาะของการบัญชีที่แนบมากับบทความนี้ค่าใช้จ่ายเพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเซตบัญชี ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง GAAP บัญชีบริหารและการเงินอนึ่งการรายงานภายใน / ภายนอกด้านนอกเล็ง / และการวางแนวของหน่วย มีจำนวนของหัวข้อที่สามารถฉันของบทความนี้ แต่ฉันรู้สึกบางอย่างที่ปัญหาเหล่านี้จะช่วยให้วิธีที่ดีที่สุดที่จะอธิบายถึงความแตกต่าง
7038 Visitor
เมื่อคราวที่แล้วเขียนเรื่องที่เคยเขียนแล้ว แต่นำมาอธิบายอีกครั้งหนึ่ง คือเรื่องความแตกต่างระหว่างการลงทุนในหุ้นกู้ด้วยตัวเอง กับการลงทุนในหุ้นกู้ทางอ้อมด้วยการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยผมชี้ให้เห็นว่ามีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความเสี่ยงประเภทที่เรียกว่า market risk
6167 Visitor
หลายปีที่ผ่านมา เราให้ความสนใจกับพัฒนาการใหม่ๆ ในเรื่องต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำข้อสนเทศต้นทุนเพื่อใช้ในการบริหาร ไม่ใช่รายงานต้นทุนเพื่อการเปิดเผยต่อสาธารณะ เราพบว่า การคิดต้นทุน โดยยึดโยงอ้างอิงกับ ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting) มีข้อจำกัดจากมาตรฐานทางบัญชี ที่ทำให้ บัญชีต้นทุน (Cost Accounting) ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการตัดสินใจของนักบริหารเท่าที่ควร แม้กระทั่ง บัญชีบริหาร (Managerial Accounting) ที่ถือปฏิบัติกันในปัจจุบัน ก็ยังติดกรอบแนวคิดทางบัญชี และไม่สามารถแสดงให้นักบริหารเห็นความคุ้มค่าในการนำมาใช้งานอย่างจริงจัง
2307 Visitor
เมื่อคุณตั้งค่าโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร และเลือกค่าเสื่อมราคาบริการแบบเส้นตรงในฟิลด์วิธีการหน้าโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคา สินทรัพย์ที่ถูกกำหนดโพรไฟล์ค่าเสื่อมราคานี้จะถูกคิดค่าเสื่อมราคาจากอายุบริการรวมของสินทรัพย์นั้น โดยทั่วไปจะได้ยอดค่าเสื่อมราคาเดียวกันในแต่ละรอบระยะเวลาการคิดค่าเสื่อมราคา ความแตกต่างเพียงในยอดค่าเสื่อมราคาที่คำนวณได้ระหว่างวิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานคงเหลือแบบเส้นตรงและวิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานแบบเส้นตรงคือเมื่อมีการปรับปรุงการลงรายการบัญชีที่สินทรัพย์ การตั้งค่าการคิดค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานแบบเส้นตรง คุณต้องเลือกตัวเลือกในฟิลด์ปีที่คิดค่าเสื่อมราคาและความถี่ของรอบระยะเวลาในหน้าโพรไฟล์การคิดค่าเสื่อมราคาด้วย
7357 Visitor
287458 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores