BLOG myAccount Cloud

BLOG myAccount Cloud

1646 Items
ในการประกอบธุรกิจต่างๆ สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการนอกจากความมั่นคงของกิจการแล้ว ธุรกิจยัง ต้องการความเจริญเติบโตของธุรกิจโดยการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น มีสาขาเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ มีการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยผ่านตัวแทนการจัดจำหน่ายเโดยให้สิ่งจูงใจแก่ตัวแทนการ จำหน่ายที่เพียงพอเป็นการตอบแทน ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้มีการนำมาใช้ค่อนข้างแพร่หลายเพื่อความมั่นคงทางการเงิน และการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
10971 Visitor
Home » เรื่องบัญชี (Accounting) » การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาไม่จดVAT) การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาไม่จดVAT) By Nittha Pantuseema (Admin) On July 19, 2017 In เรื่องบัญชี (Accounting) 2 Comments 121 การทำบัญชีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง (บุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เขียนตอนนี้ขึ้นมาเพื่อผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เหตุผลเพราะหลังจากได้ทำงานกับผู้รับเหมาก่อสร้างมาสักระยะ พบปัญหาของผู้รับเหมาคือทำงานจบแล้วทำไมถึงไม่มีเงินเหลือ ไม่ทราบกำไรต้นทุนที่แท้จริงในงานที่ทำ ไม่เข้าใจระบบภาษีที่ถูกหักไว้แล้วนำไปยื่นภาษียังไงส่วนใหญ่เลยไม่ได้ยื่นภาษีปรากฏสรรพากรมีการตรวจสอบและโดนภาษีย้อนหลังเลยก็มาก ทำงานเสร็จแล้วจะต้องเก็บข้อมูลยังไง ต้องเตรียมตัวสำหรับงานใหม่ยังไง ขอสรุปกระบวนการสำหรับการจัดการสำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้างเฉพาะที่เป็นบุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น งานรั้ว งานไฟฟ้า ระบบประปา งานติดตั้ง ฯลฯ ถ้าทำให้ถูกต้องก็ไม่มีอะไรต้องกลัวนะคะเรามาเริ่มกันเลย ก่อนเริ่มงาน
11019 Visitor
ระบบเงินสดย่อย (Petty Cash) เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย) เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก ระบบควบคุมภายในที่ดี กิจการไม่ค่อยนำเงินสดมาใช้จ่าย แต่การจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารโดยการเขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้รับ และขีดคร่อมเช็คฉบับนั้น และโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ถือเงินสดย่อยไว้ในมือจำนวนมากๆ เหตุผลเพราะ
100576 Visitor
ประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรการบัญชีชุดเดียว ( SMEs ) เมื่อต้นปี 2559 มีข่าวที่สร้างความฮือฮาให้กับแวดวง SMEs ของเราคือ การที่ภาครัฐขอให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียว และต้องเข้าระบบให้ถูกต้อง ฟังแล้วเหมือนจะโหดร้ายกับหลาย ๆ SMEs ที่ไม่เคยเน้นเรื่องภาษีเลย ไม่รู้ว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรกับมาตรการบัญชีชุดเดียวที่รัฐบาลชงออกมา ของแถมตอนนี้ที่เราจะได้รับจากภาครัฐง่ายๆเลยคือ โปรแกรมบัญชีที่ทางรัฐจัดให้แบบฟรี ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจของเรามีการจัดทำบัญชีสะดวกขึ้นและมาตรฐานเดียวกัน คือ เราจะรู้ว่า กำไรขาดทุน เท่าไหร่ ฐานะการเงินของบริษัทเป็นอย่างไรสำหรับในธุรกิจที่เราทำอยู่ เพราะ SMEs ของเราตอนนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้กำไรขาดทุนที่แท้จริงเป็นเท่าไหร่ หรือฐานะทางการเงินจริงๆ เป็นอย่างไร จะมีแค่เหลือเงินเท่าไหร่ การไปขอเงินกู้จากธนาคารก็ทำได้ยากเพราะบางบริษัทไม่มีระบบบัญชีสนับสนุน ซึ่งหากเรามีอย่างน้อย ๆ ตอนนี้คือระบบบัญชีที่รัฐบาลออกมาให้โหลดฟรี ๆ มา คิดดูแล้วกันว่าธุรกิจเราจะไปไกลแค่ไหน เพราะเหตุผลง่าย ๆแค่นี้ จึงมีมาตรการบัญชีชุดเดียวขึ้นมาช่วยเหลือชาว SMEs ที่มีอีกหลายร้อยรายกำลังจะจมน้ำตายเพราะไม่มีระบบบัญชีไว้คอยช่วยเหลือกิจการ
2311 Visitor
5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้ 5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้ หากพิจารณาข้อมูลในงบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบดุล (Balance Sheet) หรือ งบกำไรขาดทุน (Income statement) จะพบว่าทั้งสองรายงานประกอบด้วยข้อมูลทางบัญชีจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้ประโยชน์จากงบการเงิน เช่น ผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ นักลงทุน หรือคู่ค้าทางธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกข้อมูลที่ปรากฏในรายงานทางบัญชี เนื่องจากมีวิธีการอ่านงบการเงินที่ง่าย โดยการเข้าใจสูตรบัญชีที่สำคัญ ซึ่งในบทความนี้ ได้รวบรวม 5 สูตรการบัญชีที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้
156216 Visitor
การบันทึกบัญชีมีกี่ประเภท และมีหลักการบันทึกบัญชีอย่างไรบ้าง การบันทึกบัญชี แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีเดี่ยว เป็นวิธีการบันทึกบัญชีเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือ ด้านเดบิตหรือด้านเครดิต ระบบบัญชีเดี่ยวนี้จะบันทึกเฉพาะ รายการในบัญชีเงินสด หรือ บัญชีที่สำคัญบางบัญชี เช่น บัญชีลูกหนี้หรือบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น โดยไม่ได้ใช้การบันทึกรายการ ตามระบบบัญชีคู่ที่ต้องบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิต การบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีเดี่ยวนี้นิยมใช้ในกิจการ ขนาดเล็กที่เจ้าของเป็นผู้ควบคุมและจดบันทึกเอง สำหรับธุรกิจขนาดย่อมขึ้นไปไม่ควรนำระบบบัญชีเดี่ยวมาใช้ เนื่องจากจะมี ปัญหาในการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางการบัญชี และการจัดทำงบการเงิน
47152 Visitor
ทำไมถึงต้องมี กิจการร่วมค้า และ กิจการค้าร่วม การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับจ้างทำงานโครงการใหญ่ๆ หรือรับงานที่ต้องมีการประกวดราคา(ประมูลงาน) ผู้ประกอบการ บางรายอาจไม่สามารถรับงานได้โดยลำพังเพราะเงินทุนไม่พอหรือขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรับงานนั้นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการ อาจมีความจำเป็นต้องร่วมกับผู้อื่นในการรับงาน เพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน และเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ และที่ สำคัญการรวมตัวกันจะทำให้เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
52934 Visitor
โดยทั่วไปแล้วผลกำไรคือความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ กำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐกิจอาจคล้ายคลึงกัน แต่จริงๆแล้วพวกเขามีความแตกต่างที่สำคัญในการวัดความสามารถด้านการเงินของ บริษัท กำไรทางเศรษฐกิจคำนึงถึงต้นทุนที่ชัดเจนและต้นทุนโดยนัยขณะที่กำไรทางบัญชีใช้เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนเท่านั้น
14345 Visitor
SMEs ที่ขึ้นทะเบียนขอเป็นผู้ประกอบการบัญชีชุดเดียว จะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี ถึง 15 มีนาคม 2559 นี้เท่านั้น ตามที่ได้มีประกาศพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนและได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นเงินได้ 300,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลในปี 2559 และลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 10% ในปี 2560
954 Visitor
มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs หลักการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 โดยเนื้อหาตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1098 Visitor
299036 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores