บัญชีโคตรง่าย

บัญชีโคตรง่าย

1110 Items
จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี หลัก ๆ ที่นักบัญชีจะต้องมี ก็คือเรื่องของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา มีการกำหนดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของนักบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 หลายคนอาจจะมองว่า อาชีพนักบัญชีนั้น เปรียบได้กับฟันเฟืองหนึ่งในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญเท่าตำแหน่งอื่น ๆ มากเท่าไรนัก เพราะมีหน้าที่แค่ดูแลตัวเลขรายรับรายจ่ายขององค์กรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้ว นักบัญชี เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญจนถึงขั้นว่าขาดไม่ได้ ไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เท่าไรก็ตาม นักบัญชีไม่ได้มีหน้าที่แค่คำนวณ หรือบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างที่เข้าใจกันเพียงอย่างเดียว เพราะต้องมีการบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะเรื่องของเอกสารต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีการดำเนินงานในส่วนนี้ก็จะทำให้ผู้บริหารไม่สามารถวางแผนต่อไปได้ และมีโอกาสที่ธุรกิจจะประสบความล้มเหลวสูง
82782 Visitor
การทำธุรกิจหรือประกอบกิจการใดๆระบบบัญชีหรือการจัดทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงาน ความหมายของคำว่า ระบบบัญชีก็คือแบบแผนของการปฏิบัติงานทางการบัญชีเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน การจดบันทึกบัญชี การจำแนกประเภทบัญชี การกำหนดแบบพิมพ์เอกสารและสมุดบัญชี ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำระบบบัญชีเหล่านี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีมาตรฐานการบัญชีเกิดขึ้น
36563 Visitor
ปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า ปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการในอนาคต ดังนั้น จำนวนเงินที่ได้รับจึงเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จเรียบร้อยเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว จึงจะบันทึกบัญชีเปลี่ยนจากหนี้สินเป็นรายได้ตามส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า บริการที่ได้ให้แก่ลูกค้าในงวดนั้นจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นในงวดนั้นด้วย ส่วนจำนวนเงินที่กิจการได้รับไว้แล้วแต่ยังไม่ให้บริการจึงเป็นเสมือนหนี้สินยกไปงวดถัดไป เช่น ค่าบริการรับล่วงหน้า ค่าเช่ารับล่วงหน้า สามารถบันทึกได้ 2 วิธี
53497 Visitor
ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบริการหรือรับบริการยังไม่ครบตามจำนวนเงินที่จ่ายไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป จึงถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน การบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายไปสามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ การบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ทั้งจำนวนเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงิน เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX (รายการสินทรัพย์ในงบดุล) เครดิต เงินสด XXX ณ วันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนก็จะลงบันทึกล้างค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่ได้ใช้บริการแล้วออก โดยจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทน เดบิต ค่าใช้จ่าย XXX (รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน) เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX
100084 Visitor
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงรายชั่วโมง ตัวอย่างที่ 1 บริษัทวรุณ จำกัด ผลิตเครื่องเล่นเสตอริโอ ภายใต้ยี่ห้อ V-sound บริษัทซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากผู้ผลิตรายย่อย (Supplier) ภายนอก ราคาชิ้นละ 10 บาท ดังนั้น ยิ่งต้องการจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุน ในการซื้อเพิ่มขึ้น ถือเป็นต้นทุนผันแปร โดยที่ ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ คือ 10 บาท/หน่วย แต่ต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยผลิต
28787 Visitor
การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต 1. เป็นวิธีการรวบรวมและสะสมต้นทุนการผลิตของกิจการที่มีการผลิตต่อเนื่องกันไป มักใช้ในกิจการที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก 2. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าในงวดบัญชี จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยความสำเร็จของงานให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป (Equivalent Units) เสียก่อน เนื่องจากลักษณะของการผลิตมีความต่อเนื่องกันไปตลอด 3. มีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต แยกตามแผนกผลิต (โดยปกตินิยมรวบรวมต้นทุนตามงวดเวลา 1 เดือน)
42043 Visitor
บัญชีการเงิน และบัญชีเพื่อการจัดการ (Financial Accouting and Management Accounting) จากจำนวนผู้ใช้งานสารสนเทศทางการบัญชีจำนวนมาก สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายใน และผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอก โดยจะจัดแบ่งกาบัญชีออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่การบัญชีการเงิน และการบัญชีเพื่อการจัดการ บัญชีการเงิน (Financial Accounting) เป็นบัญชีที่มีการจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศให้แก่ผู้บริหาร และบุคคลภายนอกองค์กร เช่น นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมสรรพากร กรมทะเบียนธุรกิจและการค้า ซึ่งบัญชีการเงินนี้จะต้องปฎิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
2409 Visitor
makro กับ micro การบัญชีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ makro กับ micro Mackro แบ่งเป็น 5 ระบบบัญชี 1.ระบบบัญชีรายได้ประชาชาติ จะต้องคิดหา GDP รายได้ประชาติต่อหัว จะพูดถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 2.ระบบปัจจัยการผลิตและผลผลิต Input กับ Output เป็นระบบบัญชีหมุนเวียนภาวะเศรษฐกิจในแต่ละ sector ซึ่งประเทศไทยเราทำประมาณ 180 sector มันจะบอกว่าถ้าอุตสาหกรรม sector ที่ 1 ผลิตข้าว เปลี่ยน 1 % sector ที่ 180 ผลิตรถยนต์จะเปลี่ยนกี่เปอร์เซ็นต์ มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง sector 3.ระบบเงินหมุนเวียนภายในประเทศ โดยจะบอกว่าในแต่ละ sector มีเงินหมุนเวียนอยู่เท่าไหร่ 4.ระบบบัญชีเงินดุลสะพัดแห่งชาติ พูดถึงตัวเงินเหมือนกันแต่แทนที่จะหมุนเวียนในประเทศกลับไปหมุนเวียนกับต่างประเทศ บัญชีดุลสะพัดประกอบไปด้วย ดุลการค้า และดุลบริการ
1937 Visitor
การวิจัยกับการการวิเคราะห์งบการเงิน การที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในอดีต ทำให้สามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ทฤษฎีทางการบัญชีแบ่งเป็น 3 ยุค 1. Classical approach งานวิจัยตั้งแต่ช่วงต้น ๆ จนถึงปี 1960s ( 1960-1969) Mid กลางปีคือ 1965 พยามพัฒนาหาว่างบการเงินหรือการบัญชีควรจะแสดงข้อมูลอย่างไรจึงจะเหมาะสม 2. Market – based accounting research - มีการหา empirical Test มากขึ้น (การทดสอบเชิงประจักษ์จากข้อมูล) จะมุ่งเน้นไปที่ปฏิกิริยาทางการตลาดที่มีต่อข้อมูลทางการบัญชีที่รายงานออกไป - จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกำไรทางการบัญชีกับผลตอบแทนของตลาด( Market Return)ซึ่งอยู่ในบทบาทของข้อมูลทางการบัญชี
3303 Visitor
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านเราอาจจะงงกับคำย่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MLR หรือ MRR (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะในต่างประเทศก็มีคำย่อหลากหลายประมาณนี้เหมือนกัน เช่น LIBOR หรือ SIBOR) วันนี้ CheckRaka.com จะพามาดูกันค่ะว่า แต่ละ Rate คืออะไร เป็นอย่างไร
4234 Visitor
192049 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores