บัญชีโคตรง่าย

บัญชีโคตรง่าย

1110 Items
ในฐานะที่เราเป็นผู้ใช้งบการเงิน หนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน นั่นเอง แล้ว อัตราส่วนทางการเงิน คืออะไรล่ะ มีกี่ประเภท หาได้จากที่ไหน และที่สำคัญคือ ใช้ยังไง เราจะได้รู้กันในบทความนี้เอง
1206 Visitor
การวิเคราะห์โดยการจัดทำ งบการเงินฐานเดียวกัน (Common Size Statements) คือ การปรับรายการต่างๆในงบดุล และ งบกำไรขาดทุน ให้อยู่ในรูปร้อยละ โดยรายการในงบดุลจะถูกปรับให้อยู่ในรูปร้อยละต่อสินทรัพย์รวม และรายการในงบกำไรขาดทุนจะถูกปรับให้อยู่ในรูปร้อยละต่อยอดขายสุทธิ การปรับรายการต่างๆให้อยู่ในรูปของร้อยละ จะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการที่มีขนาดแตกต่างกันได้โดยง่าย และสามารถวิเคราะห์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการได้ ถ้ายังไม่เห็นภาพ ลองไปดูตัวอย่างกันเลย
9862 Visitor
"เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ครึ่งปีแรกติดลบ 1.06% เหตุสมาชิกสหกรณ์ยังไม่มั่นใจสถานการณ์บ้านเมือง ระมัด ระวังการใช้จ่าย ลดการอุปโภค และบริโภค ออมเงินมากขึ้น ธุรกิจหด กำไรลด เชื่อว่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลังน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งเฉลี่ยที่ 0.5-1.0%”
1108 Visitor
นับเป็นเวลาหลายปีแล้วที่ประเทศไทยนำระบบสหกรณ์มาใช้เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร สหกรณ์จัดเป็นหน่วยเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการบริหารและการดำเนินงานก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ ทั่วไป จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสหกรณ์ต้องแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ มากมาย โดยมีเป้าหมายเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วไปที่ต้องการให้สหกรณ์สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง ดังนั้นสหกรณ์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อความอยู่รอด โดยสหกรณ์ต้องสามารถสร้างรายได้ให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปขยายธุรกิจให้เติบโตรวมทั้งผลตอบแทนที่คืนให้กับสมาชิก ซึ่งหมายถึงรายได้ที่เพียงพอครอบคลุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมด และที่สำคัญกว่านั้นรายได้เหล่านั้นต้องครอบคลุมถึงผลตอบแทนที่สมาชิกต้องการ ในฐานะ ผู้ใช้บริการและผู้เป็นเจ้าของทุนด้วย ถ้าหากสหกรณ์ใดขาดวัฒนธรรมในการสร้างมูลค่า หรือขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงของสหกรณ์ในอนาคตได้ และที่สำคัญในที่สุด จะทำให้สมาชิกตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความเชื่อมั่นในสหกรณ์ต่อไป
640 Visitor
ภาพรวมเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 3 ของปี 2557 ปรับตัวดีขึ้นแม้ปริมาณธุรกิจโดยรวม 1.96 ล้านล้านบาท หดตัว 0.25 % เมื่อเทียบกับการหดตัวจากไตรมาสที่แล้ว สร้างรายได้และทำกำไร ทั่วประเทศกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.0 ”
662 Visitor
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ปี 2557 ช่วงแรกของปียังคงเจอกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงไม่ แน่นอน ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพปรับตัวสูง รวมทั้งราคาพืชผลการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ตลอดจนภัยทาง ธรรมชาติโดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดที่ส่งผลกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมา ใน ภาพรวมภาคสหกรณ์ไทยที่รวบรวมจากรายงานของผู้สอบบัญชีที่รับรองงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วจำนวน 10,831 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์จำนวน 6,762 แห่ง (ภาคเกษตร 3,733 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,029 แห่ง) และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4,069 แห่ง มีจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 12.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.75 ของประชากรทั้ง
724 Visitor
"เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 4/2557 ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.58% จากไตรมาสที่แล้ว มีปริมาณธุรกิจโดยรวม 1.96 ล้านล้านบาท สร้างรายได้และทำกำไรทั่วประเทศกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้กำไรขยายตัว 4.56% สมาชิกมีการก่อหนี้สินเฉลี่ยลดลง และชะลอการออมเงิน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีหน้า น่าจะดีขึ้นและขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.5” 
886 Visitor
"เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยครึ่งแรกปี 2558 ขยายตัว 4.34 % ธุรกิจเพิ่ม กำไรเพิ่ม เชื่อว่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลังน่าจะขยายตัวต่อเนื่อง” เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยครึ่งแรกปี 2558จากการตรวจสอบบัญชีและรวบรวบข้อมูลได้ (วันที่ 30 มิถุนายน 2558) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 11,125 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ 6,987 แห่ง (ภาคเกษตร 3,848 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,139 แห่ง) และกลุ่มเกษตรกร 4,138 แห่ง มีสมาชิกผู้รับบริการรวมทั้งสิ้น 12.78 ล้านคนเศษ คิดเป็น 19.63 % ของประชากรไทยทั้งประเทศ โดยเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยขยายตัวมากว่าเศรษฐกิจประเทศที่ 4.34 % เกี่ยวเนื่องจากนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริม และช่วยเหลือสหกรณ์ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านม
856 Visitor
แหล่งข่าวจาก ธปท. กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อหนี้ใหม่ของครัวเรือนไทยเริ่มชะลอลง แต่มีแนวโน้มหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น และสถาบันการเงินเริ่มเห็นสัญญาณเหล่านี้ ทำให้ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ที่ผ่านมาจากการประเมินของ ธปท.มองว่าโครงการรถยนต์คันแรกที่เป็นตัวกระตุ้นเกิดภาระหนี้สินครัวเรือนมาก น่าจะเริ่มทยอยหยุดอายุลงในปลายปี 59 หากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีขึ้นจะส่งผลให้ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนลดลงได้
786 Visitor
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะความจำเป็นต้องพึ่งตนเองมากขึ้น ทำให้ คนวัยทำงานและผู้สูงอายุเริ่มออมเงินในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ระดับการออมรวมของประเทศ (GDS – Gross Domestic Savings) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้น สัดส่วนการออมรวม (GDS) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เท่ากับร้อยละ 34.18 แต่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 สัดส่วนการออมรวม (GDS) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีการปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ 23.48 (ที่มา : สำนักนโยบายการออมและ การลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
667 Visitor
192917 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores