BLOG myAccount Cloud

BLOG myAccount Cloud

1639 รายการ
มุ่งมั่นพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน การเตือนภัยทางการเงินเป็นมิติหนึ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อการบริหารงาน และด้วยความมุ่งมั่น ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ต่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง จึงได้สร้างและ พัฒนาเครื่องมือเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อใช้เป็นกลไกหนึ่งทางการ บริหารสู่ความมั่นคง เข้มแข็ง อิสระ และพึ่งตนเองของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้ในที่สุด
1501 ผู้เข้าชม
ในปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ เพื่อลดต้นทุนจากการซื้ออาหารสัตว์จากบุคคล อื่น และสูตรอาหารสัตว์เป็นไปตามความต้องการของสมาชิก การผลิตอาหารสัตว์แต่ละครั้งสหกรณ์จะใช้วัตถุดิบที่ แตกต่างออกไปทั้งที่เป็นหัวและเป็นเม็ด เช่น มันเส้น ข้าวโพด เป็นต้น ดังนั้นต้องแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผง หรือ มีลักษณะเดียวกัน เพื่อให้การผลิตหรือผสมอาหารสัตว์ได้คุณภาพยิ่งขึ้น การผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์ใช้วิธีโม่หรือ เครื่องย่อยวัตถุดิบให้เป็นผงก่อนที่จะไปสู่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ในการผลิตอาหารสัตว์โดยทั่วไปแล้วจำเป็น ต้องควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามสูตรอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงที่บริโภคได้ หาก จำเป็นต้องเปลี่ยนวัตถุดิบบางตัวที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ก็ใช้วัตถุดิบที่มีคุณค่าอาหารใกล้เคียงกันมากที่สุด ดังนั้น โดยปกติสหกรณ์จะมีการกำหนดสูตรอาหารสัตว์ไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งกำหนดวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้ ในการดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์จะเตรียมวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตอาหารสัตว์โดยจะจัดเก็บวัตถุดิบไว้ ในโกดังหรือไซโล ในการวางระบบบัญชีให้แก่สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์จะต้องคำนึงถึงการควบคุม ภายในของสหกรณ์แต่ละแห่งด้วย ซึ่งในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึง
1895 ผู้เข้าชม
นักวิเคราะห์หุ้นหลายคนจะเน้นเรื่องกำไรของบริษัท แต่นักวิเคราะห์สินเชื่อจะเน้นเรื่องกระแสเงินสด (ว่าจริงๆแล้วมีเงินอยู่กระเป๋าเท่าไร จะมีโอกาสจ่ายเงินคืนธนาคารหรือไม่)
1050 ผู้เข้าชม
รู้หรือไม่งบการเงินนั้นประกอบด้วย 5 อย่าง งบของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น เวลาเค้าประกาศงบ จะให้มาทั้งหมด 5 อย่าง และ 1 ของแถม อะไรคือของแถมวะนี่ ? งบการเงินไม่ได้มีแค่งบดุล หรืองบกำไรขาดทุน ยังมีอีก 3 งบประกอบกัน ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในบทความนี้จะอธิบายจุดประสงค์แต่ละงบอย่างง่ายๆ ก่อนนะครับ 1. งบดุล หรือในชื่อใหม่ว่า งบแสดงฐานะการเงิน (เปลี่ยนชื่อให้ดูดีขึ้น 55) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าแสดงฐานะของกิจการว่ามั่งคั่งแค่ไหน ถ้าเคยท่องสมการบัญชีมา ก็เป็น สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน (ส่วนของเจ้าของ) ต้องเท่ากัน (ดุลกัน) เค้าเลยเรียกว่างบดุล สิ่งที่จะดูหลักๆ คือ มีสินทรัพย์เท่าไหร่
944 ผู้เข้าชม
การยื่นงบการเงิน กำหนดเวลายื่นงบการเงิน 1) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบ ธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พฤษภาคมของปีถัดไป 2) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตตรวจสอบ รับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มี การประชุมเพื่ออนุมัติิงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีจะต้องจัด ประชุมภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่ เกิน 20,000 บาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมแล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
24821 ผู้เข้าชม
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ คืออะไร งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จหรืองบกำไรขาดทุน หมายถึง งบการเงินที่จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่า มีรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เท่าไร ณ รอบบัญชีนั้นๆ กำไร(ขาดทุน) = รายได้ – ค่าใช้จ่าย รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีซึ่งจะเกิดจากการขายสินค้าและบริการเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีผลทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น แต่เงินที่ได้รับมาจากส่วนของเจ้าของจะไม่นำมานับรวมเป็นรายได้ ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีนั้นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้าและบริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ ส่วนของเจ้าของลดลง แต่จะไม่รวมการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
9970 ผู้เข้าชม
งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล คืออะไร งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล คืองบที่จะแสดงข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งของรอบบัญชี โดยจะแสดง สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆของ งบแสดงฐานะทางการเงิน ได้จาก สมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่กิจการครอบครองอยู่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ซึ่งสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว หรือสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลา 1 ปี 2.สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการต้องถือไว้ยาวนานมากกว่า 1 ไม่ เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องน้อย เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น
5125 ผู้เข้าชม
หลังจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง “รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า” หรือ TFRS 15 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ดังนั้นนักบัญชีและผู้เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องความเข้ากับมาตรฐานใหม่นี้ไว้ให้ดีครับ สภาวิชาชีพบัญชี ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง “รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า” ซึ่งมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่รวบรวมเรื่องรายได้ไว้ในที่เดียว และยกเลิกมาตรฐานเกี่ยวกับรายได้เรื่องอื่นๆ ที่เคยใช้มา เช่น สัญญาก่อสร้าง รายได้ หรือการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า สัญญาสำหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา การจัดทำมาตรฐานดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้มาตรฐานเรื่องรายได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื้อหาสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้คือกิจการจะรับรู้รายได้เมื่อได้โอนการควบคุม (Transfer of control) ในสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าแล้ว หรือมองในมุมกลับกันคือลูกค้าได้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว มาตรฐานฉบับนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากิจการอาจมีรายได้หลายประเภทรวมอยู่ในสัญญาที่ทำกับลูกค้า และอาจมีราคาที่เปลี่ยนแปลงได้ การรับรู้รายได้อาจมีวิธีการและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามภาระด้วยเงื่อนไขที่ทำกับลูกค้าหรือสถานการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้น มาตรฐานได้กำหนดขั้นตอนสำคัญในการรับรู้รายได้ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1711 ผู้เข้าชม
ห็นคนพูดกันอยู่ตลอด จดแล้วรวย จดแล้วไม่จนบ้าง บางคนอดทนจดอยู่ได้ 3 เดือนแล้วก็เลิกจดบัญชีไป เพราะมองว่าไม่เห็นได้ประโยชน์อะไร ความคิดข้างต้นอาจไม่ใช่เรื่องแปลก หลายๆคนก็คงจะคิดแบบนั้น นี่คือตัวอย่างของการให้ความรู้ทางการเงินแบบครึ่งๆกลางๆ
1265 ผู้เข้าชม
ก่อนอื่น...เราจะเริ่มต้นง่ายๆ จากการแบ่งประเภท "รายรับ" และ "รายจ่าย" ของเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง รายรับ คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการหาเงินของเราว่ามาจากทางใดบ้าง ตัวเรานั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการเงินดีแค่ไหน ถ้าเงินเหลือถือว่าดีมาก แต่ถ้าเงินขาดถือว่า...
10163 ผู้เข้าชม
287849 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์