• Home

  • Search List Article

Search List Article

  • Home

  • Search List Article

Search List Article

2277 Items
เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
86041 Visitor
กระดาษทำการ หมายถึง หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
2866 Visitor
การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประโยชน์ที่ได้มีทั้งกับบริษัทเองและกับผู้ถือหุ้น ดังต่อไปนี้..
1010 Visitor
ไขข้อข้องใจ สำหรับผู้มีรายได้จากต่างประเทศ และต้องการนำเงินเข้าประเทศไทย แล้วไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ ลองไปดูรายละเอียดกันได้เลยครับ
1964 Visitor
การทำบัญชีต้นทุนวัตถุดิบมีด้วยกัน 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน วัตถุดิบที่ถูกเบิกไปใช้ภายใต้วิธีการนี้จะเริ่มต้นจากวัตถุดิบคงเหลือ ณ วันต้นงวด หลังจากนั้นจึงจะเริ่มคิดจากการซื้อ ในครั้งแรกๆ ไล่มาตามลำดับ วัตถุดิบคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดใดๆ จึงคำนวณจากยอดต้นทุนการซื้อในครั้งหลังสุด ตามหลักการดังกล่าว มีผลทำให้มูลค่าวัตถุดิบคงเหลือสะท้อนถึงข้อมูลต้นทุน ที่มีความเป็นปัจจุบันไม่ว่ากิจการจะใช้ระบบสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด หรือแบบต่อเนื่องก็ตาม
1470 Visitor
สำหรับประเด็นในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่อง ใบกำกับภาษี ที่ใครหลายคนค้างคาใจ ว่าทำอย่างไรถึงจะออกใบกำกับภาษีได้อย่างถูกต้องและไม่มีปัญหากับพี่ๆสรรพากรครับ
2661 Visitor
ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มีการประกอบธุรกิจ ทั้งที่เป็นการขายสินค้า บริการ หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งการออกเอกสารต่าง ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น การออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า บริษัทควรจะเลือกออกวันไหนดี วันที่ส่งใบแจ้งหนี้ หรือวันที่ลูกค้าจ่ายชำระเงิน วันนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีครับ
2381 Visitor
สวัสดีคร้าบ วันนี้เรามาพูดคุยในเรื่องของภาษีกันบ้างดีกว่า หลายๆคนมักจะมีคำถามในใจว่าหลังจากเปิดบริษัทหรือจดทะเบียนทำธุรกิจต้องเสียภาษีอะไรบ้าง วันนี้เลยขอสรุปให้ฟังว่า ถ้าหากเราทำธุรกิจในรูปแบบของ "นิติบุคคล" เมื่อไร เราจะมีภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 5 เรื่อง ดังนี้ครับ...
2203 Visitor
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และถูกกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบจะได้ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะมีเอกสารให้ตรวจสอบอย่างครบถ้วน มาดูรายละเอียดกันว่าทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้ ผู้ทำบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติโดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทย มีความรู้ภาษาไทย ไม่เคยต้องโทษจำคุก ในความผิดตามกฎหมายบัญชี/สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีคุณวุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี / สอบบัญชีหรือเทียบเท่า เข้าอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง อบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง (เนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แต่ละปีต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) และต้องแจ้งรายละเอียดการอบรมตามแบบ ส.บช.7 ต่ออธิบดีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี ต้องมีระบบบัญชีที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต็อกสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฎากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกัน เช่น ธุรกิจบริการ ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่เกิดการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้า ต้องตีความให้ถูกต้องว่าสินค้าใดผลิตเพื่อขาย สินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องตรวจสอบพิกัดสินค้าที่นำเข้า หรือส่งออก เพราะหากมีการลงพิกัดผิด ก็อาจจะถูกปรับเสียค่าใช้จ่ายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ธุรกิจลีสซิ่งและเช่าซื้อ ก็ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรมประเภทใด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการให้เช่า ก็จะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน นักบัญชีที่ดี ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรฐานการบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัท พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ ประมาลรัษฎากร กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ประกาศของกรมทะเบียนการค้า และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น
819 Visitor
ขั้นตอนปฏิบัติการทำลายสินค้าเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย เพื่อตัดออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือนั้น กรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์การปฏิบัติไว้ดังนี้ บัญชีสินค้าคงเหลือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะทำลายสินค้า และตัดสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชี จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำลายสินค้าไปแล้ว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางการค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างไรก็ตาม ให้ผู้ประกอบการแจ้งการทำลายสินค้าคงเหลือให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้า 30 วันก่อนวันที่จะทำลายสินค้า ทังนี้ กรมสรรพากรอาจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อีกทั้งผู้ประกอบการต้องเชิญผู้สอบบัญชีของตนมาดูเพื่อเป็นพยานในการทำลาย พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบงบดุลไว้ด้วย
1518 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores